ภาพวาดแรกที่ทำให้คนรู้จักทีวีสีในปี1922 เริ่มเป็นจริงและได้รับความนิยมในยุค1950s จินตนาการต้องมาก่อน สำคัญกว่าความรู้!

ภาพจากนิตยสาร Science and Invention ฉบับเดือน July 1922 ราคา 25 เซ็นต์ หรือประมาณ 8 บาท น่าจะเป็นภาพวาดแรกที่ทำให้คนทั่วโลกเริ่มรู้จักทีวี

ในยุค 1920S เป็นช่วงแรกที่เริ่มมีการคิดค้นทีวี แต่ยังอยู่ในห้องทดลองและไกลจากความเป็นจริงมาก ตามข้อมูลในนิตยสาร เรียกทีวีในสมัยนั้นว่า “Television By Radio” ตอนนั้นมีโรงหนังและวิทยุแล้ว เป็นการเอาเทคโนโลยีสองอย่างมารวมกันให้กลายเป็นทีวีตามบ้าน

มีการคิดค้นและพัฒนากันอยู่นาน แต่กว่าทีวีจะเริ่มออกขายจริง ก็เป็นยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีตัวเลขรายงานว่า คนรวยอเมริกัน 0.02% เริ่มมีทีวีใช้ในปี 1946 และกว่าคนทั่วประเทศจะมีทีวีกันเกินครึ่งหรือ 59.40% ก็เข้ามาถึงปี 1954 เริ่มต้นจากทีวีขาวดำก่อนจะเป็นทีวีสี ราคาที่ถูกลงทำให้คนส่วนใหญ่สามารถซื้อทีวีได้

สำหรับประเทศไทย เริ่มมีการแพร่ภาพทางทีวีครั้งแรกในปี 1955 หรือ พ.ศ. 2498 ใครที่อายุเลยหกสิบแล้วถึงจะมีประสบการณ์ครั้งแรกของทีวีในประเทศไทย

เห็นภาพวาดทีวีสีในนิตยสาร Science and Invention เมื่อเกือบหนึ่งร้อยปีก่อน ทำให้คิดถึงข่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆที่เอามาโพสต์อยู่เป็นประจำ มันช่วยตอกย้ำให้เห็นว่า สิ่งที่มีการจินตนาการและทำกันอยู่ในวันนี้หลายเรื่อง จะกลายเป็นเรื่องจริงในอนาคต

คงเหมือนกับประโยคเด็ดที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยพูดไว้เป็นอมตะว่า…
“Imagination is more important than knowledge” หรือ “จินตนาการสำคัญมากกว่าความรู้”

https://paleofuture.gizmodo.com/this-futuristic-color-tv-set-concept-from-1922-was-way-1797470492

Leave a Reply