โครงการโรงไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาด 12 แห่งที่แสดงให้เห็นในภาพ เป็นตัวอย่างของโครงการพลังงานลมหรือโซลาร์ในยุโรปซึ่งไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในยุโรป
หลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลของหลายประเทศในยุโรปให้การสนับสนุนทางด้านการเงินกับผู้ผลิตและผู้ใช้พลังงานทดแทน เพราะเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
ต้นทุนพลังงานลมและโซลาร์ต่ำลงอย่างต่อเนื่องทุกปี แบตเตอรี่ที่นำมาใช้เป็นระบบกักเก็บพลังงานก็มีต้นทุนต่ำลงต่อเนื่องเช่นกัน ช่วยแก้ปัญหาช่วงที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้
มีข่าวการประมูลสร้างโรงไฟฟ้าใหญ่ๆทั่วโลกซึ่งไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นพลังงานชนิดใด ผู้ชนะการประมูลเกือบทุกรายเป็นไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานสะอาด
ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ ในยุโรปก็เริ่มมีความชัดเจนเรื่องต้นทุนพลังงานทดแทนที่ต่ำกว่าพลังงานฟอสซิ่ล และมีแนวโน้มว่าทุกประเทศจะยกเลิกการสนับสนุนพิเศษสำหรับผู้ผลิตและผู้ใช้พลังงานสะอาดแล้ว
บริษัทที่ทำธุรกิจพลังงานสะอาดทุกแห่งที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของโลก มีตัวเลขผลกำไรดีชัดเจน
Engie ของฝรั่งเศสเพิ่งประกาศสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลมขนาด 300 เมกะวัตต์ในสเปน ใช้เงินทุน 350 ล้านดอลลาร์
เมื่อเดือนมีนาคม 2018 Vattenfall บริษัทพลังงานสวีเดน ชนะการประมูลสร้างไฟฟ้าพลังงานลมขนาด 700 เมกกะวัตต์ในเนเธอร์แลนด์ และเป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมแห่งแรกในเนเธอร์แลนด์ที่ไม่ต้องพึ่งพิงการสนับสนุนพิเศษทางการเงินจากภาครัฐ
ประเทศไทยเองก็มีบริษัททั้งเล็กและใหญ่กำลังทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด บริษัทใหญ่ที่สร้างวินด์ฟาร์มหรือโซลาร์ฟาร์ม ซึ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ก็สามารถทำกำไรได้ดีอย่างชัดเจน
เมื่อเร็วๆนี้ เคยได้ยินผู้บริหารของบริษัทด้านพลังงานทดแทนของไทยให้สัมภาษณ์สื่อว่า ไม่ต้องให้รัฐสนับสนุนก็แข่งขันได้ นอกจากสร้างโรงไฟฟ้าในประเทศไทยแล้ว ยังสามารถออกไปประมูลแข่งขันในตลาดโลกได้ด้วย
https://www.vox.com/2018/5/30/17408602/solar-wind-energy-renewable-subsidy-europe