Credit Suisse ทำการศึกษาเกี่ยวกับความมั่งคั่งของคนในแต่ละประเทศติดต่อกันมา 9 ปี มีการศึกษาหลายหัวข้อ และทำการศึกษาเรื่องความเหลื่อมล้ำของคนในแต่ละประเทศทุกปี
ผลการวิจัยของ Credit Suisse เป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะช่วงปลายปีของทุกปี
ประเทศไทยติดอันดับ 1 ของประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุดในโลกติดต่อกันมาสองปีแล้ว เป็นแชมป์ในปี 2017 และ 2018
สำหรับข้อมูลที่นำมาสร้างเป็นกราฟทั้งหมด เป็นข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยย้อนหลังตั้งแต่ปี 2014 – 2018 มีตัวเลขยืนยันแหล่งที่มาจากรายงานผลการวิจัยในแต่ละปี
สีน้ำเงินหมายถึงประชากรไทย 10% และอัตราการถือครองทรัพย์สินทั้งหมดของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2014-2018 สรุปแล้วในแต่ละปีมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
-2014 = 75.00%
-2015 = 78.60% = +3.6%
-2016 = 79.90% = +1.3%
-2017 = 78.70% = -1.2%
-2018 = 85.70% = +7.0%
สีแดงหมายถึงประชากรไทย 5% และอัตราการถือครองทรัพย์สินทั้งหมดของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2014-2018 สรุปแล้วในแต่ละปีมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
-2014 = 66.9%
-2015 = 71.3% = +4.4%
-2016 = 72.9% = +1.6%
-2017 = 71.4% = -1.5%
-2018 = 79.90% = +8.5%
สีเขียวหมายถึงประชากรไทย 1% และอัตราการถือครองทรัพย์สินทั้งหมดของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2014-2018 สรุปแล้วในแต่ละปีมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
-2014 = 50.5%
-2015 = 56.0% = +5.5%
-2016 = 58.0% = +2.0%
-2017 = 56.2% = -1.8%
-2018 = 66.9% = +10.7%
ถ้าใช้ข้อมูลนี้ในการคำนวณแนวโน้มอนาคตของประเทศไทย สภาพของการรวยกระจุกแต่จนกระจายคงมีให้เห็นเพิ่มขึ้นทุกปี
2-3 ปีนับจากนี้ ก็จะได้เห็นประชากรไทย 10% ถือครองความมั่งคั่งของทรัพย์สินที่มีอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 90%
คนรวยรวยขึ้นต่อเนื่อง ส่วนคนจนก็จนต่อเนื่อง
คนส่วนใหญ่ของประเทศจะยังคงยอมรับสภาพความเหลื่อมล้ำที่ตัวเองมีอยู่หรือไม่? ในอนาคตสังคมจะเป็นอย่างไร? จะอยู่กันในสภาพอย่างนี้ต่อไปได้จริงหรือ?
https://www.credit-suisse.com/corporate/en/research/research-institute/global-wealth-report.html