ผลการสำรวจของ Credit Suisse ที่รายงานว่าประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำมากที่สุดในโลก โดยติดอันดับ 1 ในปี 2017 และ 2018 เป็นที่ถกเถียงและมีการโต้แย้งกันในวงกว้าง
คนในรัฐบาลไทยและผู้สนับสนุนพยายามชี้ว่าผลการวิจัยของ Credit Suisse ขาดความน่าเชื่อถือ
สำหรับข้อมูลที่นำมาเสนอในคราวนี้มาจากการศึกษาเรื่องความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยที่รายงานในปี 2559 จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในปี 2558 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของประชากรไทยอยู่ที่ 15,536 บาท
คนไทย 0.67 ล้านคน หรือ 1% มีรายได้ต่อเดือน 53,342 บาท
คนไทย 50% มีรายได้ 6,485 บาทต่อเดือนหรือต่ำกว่า
คนไทย 40% มีรายได้ต่ำกว่า 5,344 บาทต่อคนต่อเดือน
คนไทย 38.7% หรือประมาณ 26.9 ล้านคน จัดเป็นประชากรกลุ่มที่เป็นคนยากจนและคนเกือบจน เป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการตกเป็นคนจนได้ง่าย
คนไทย 40% ที่มีรายได้ต่ำสุดนี้มีรายได้โดยเฉลี่ยเพียง 4,074 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 55.7 ของไทยเป็นแรงงานนอกระบบ การมีงานทำไม่แน่นอน
คนไทยในกลุ่ม 40% ที่มีรายได้ต่ำ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรและแรงงานทั่วไป
ตัวเลขรายได้เฉลี่ยของคนไทยตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงาน กับข้อมูลที่มีอยู่ในสถาบันต่างๆทั่วโลกก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน
ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่จนที่สุดในโลก
รัสเซีย อินเดีย ตุรกี ที่มีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำเหมือนประเทศไทยก็ไม่ใช่ประเทศที่อยู่ในกลุ่มที่ยากจนที่สุดในโลก
คน 1% ที่ถือครองความมั่งคั่งของประเทศมากกว่าครึ่งเกิดจากปัญหาการกระจายรายได้ของประเทศนั้นๆ
ตัวเลขรายงานความเหลื่อมล้ำของประชากรไทยที่จัดทำโดยหน่วยงานของรัฐบาลไทย มันก็สอดคล้องกับผลการสำรวจของ Credit Suisse
http://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6420