เส้นดำๆในหลอดเลือดแดง เป็นหุ่นยนต์รูปทรงตัวหนอนที่สร้างโดยวิศวกรของ MIT มันเล็กมากจนสามารถเข้าไปในสมองมนุษย์ ทางทีมวิจัยหวังไว้ว่าในอนาคต เทคโนโลยีนี้จะถูกใช้สำหรับการรักษาคนไข้ในกรณี หลอดเลือดอุดตันและโป่งพอง
มันคือหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาให้ชอนไชเข้าไปในหลอดเลือดสมอง มีสนามแม่เหล็กควบคุมอุปกรณ์ มันสามารถลดปัญหาหลอดเลือดอุดตัน ที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะสมองขาดเลือดอื่นๆ
ในอนาคต เจ้าหุ่นยนต์จิ๋วนี้อาจทำงานควบคู่กับเทคโนโลยีสอดสายสวนที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน หมอสามารถสั่งให้หุ่นยนต์ทำงานแบบรีโมทอยู่ภายในร่างกายมนุษย์ ให้มันเข้าไปในเส้นเลือดสมองของผู้ป่วย เพื่อกำจัดสิ่งอุดตันได้อย่างรวดเร็ว เหมือนอย่างกรณีที่เกิดขึ้นเป็นหลอดเลือดโป่งพอง และโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุ การตาย และทำให้เกิดความพิการ อันดับที่ 5 ในประเทศสหรัฐอเมริกา
หากสามารถรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ภายใน 90 นาทีแรก อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยจะมีเพิ่มขึ้นอีกมาก หากหุ่นยนต์ตัวหนอนนี้เข้ามาช่วยทำงานในช่วง 90 นาทีนี้ มันอาจหลีกเลี่ยงความเสียหายของสมองอย่างถาวรได้
ในปัจจุบัน หมอรักษาอาการเลือดอุดตันในสมอง โดยการสอดสายสวน เป็นการผ่าตัดส่องกล้องที่ศัลยแพทย์ใส่ลวดเส้นเล็กผ่านหลอดเลือดแดงหลักของผู้ป่วยซึ่งมักจะอยู่ที่ขาหรือขาหนีบ ภาพถ่ายหลอดเลือดเห็นได้โดยใช้รังสีเอ็กซ์เรย์ ศัลยแพทย์หมุนลวดด้วยตนเองไปยังเส้นเลือดสมองที่ชำรุดเสียหาย สายสวนสามารถพันเกลียวตามสายเพื่อส่งยาหรืออุปกรณ์ ดึงก้อนไปยังพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบ
ขบวนการทำงานผ่าตัดรักษาอาการเลือดอุดตันดังกล่าว ต้องใช้ศัลยแพทย์ที่ผ่านการฝึกฝนมาอย่างดี มีความชำนาญเฉพาะทาง ต้องอาศัยความประสบการณ์และทักษะความชำนาญของหมออย่างมาก และในวันนี้มีหมอที่สามารถทำงานนี้ได้ไม่พอกับจำนวนคนไข้ที่ต้องการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบทหรือพื้นที่ห่างไกล
หากการวิจัยพัฒนาได้ผลสมบูรณ์ตามเป้าหมาย ขบวนการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้หุ่นยนต์เข้าช่วย จะทำให้ศัลยแพทย์ทำงานได้ง่ายขึ้น แม้ไม่มีประสบการณ์มาก ก็อาจใช้เทคโนโลยีใหม่เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงาน และประสบความสำเร็จในการรักษาได้เป็นอย่างดี
แพลตฟอร์มที่มีการพัฒนาอยู่นี้ สามารถทำงานแบบรีโมทได้ หากมีหุ่นยนต์อยู่กับคนไข้ หมอสามารถสั่งงานหุ่นยนต์จากอีกห้องหนึ่ง หรือจะอยู่ต่างเมืองต่างประเทศก็สั่งงานกันได้ ไม่ต่างจากการควบคุม Joystick เหมือนตอนเล่นเกม
การวิจัยหุ่นยนต์ตัวหนอนนี้ ยังอยู่ในช่วงทดลองที่ทำงานอยู่ในหลอดเลือดซีลิโคนเทียมเท่านั้น ขั้นต่อไปจะเป็นการทดลองใช้กับคนจริงๆ….
http://news.mit.edu/2019/robot-brain-blood-vessels-0828
https://robotics.sciencemag.org/content/4/33/eaax7329
https://www.smithsonianmag.com/smart-news/robotic-brain-worm-could-be-future-stroke-care-180973020/
.