ผ่าตัดหัวใจแบบรีโมทรายแรกของโลก สั่งหุ่นยนต์ผ่านจอยสติ๊กเหมือนเล่นเกม หมออินเดียทำสำเร็จ อยู่ห่างไป32กม. ดูแลสุขภาพทางไกล โตเต็มที่ใน15ปี

การผ่าตัดแบบรีโมทที่หมอสั่งงานให้หุ่นยนต์ผ่าตัดคนไข้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ทั่วโลกมีการทำหลายปีแล้ว แต่การสั่งงานหุ่นยนต์แบบรีโมทให้ผ่าตัดหัวใจ เพิ่งมีรายงานใน EClinicalMedicine ครั้งแรกของโลก

หมออินเดียอยู่ห่างจากคนไข้ 20 ไมล์ หรือประมาณ 32 กิโลเมตร เชื่อมต่อกันด้วยอินเตอร์เน็ตแบบมีสาย สั่งงานให้หุ่นยนต์ของ Corindus ผ่าตัดคนไข้ ใช้จอยสติ๊กแทนมีดผ่าตัด มีจอมอนิเตอร์ที่เห็นภาพหัวใจและคนไข้ในห้องผ่าตัดอย่างชัดเจน

หลังจากการผ่าตัดประสบความสำเร็จด้วยดีในอินเดีย ในอเมริกาก็เริ่มทำตามหลายครั้งแล้ว

หมอผ่าตัดที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหลายสาขา อยู่ในภาวะขาดแคลน คนที่มีประสบการณ์ และประสบความสำเร็จมากๆ ยิ่งหายาก

แต่คนป่วยที่กำลังรอการรักษาจากหมอ มีกระจายอยู่ในที่ต่างๆทั่วโลก

เทคโนโลยีใหม่นี้จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาหมอผ่าตัดขาดแคลนได้เป็นอย่างดี

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คือ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่แผ่ขยายในวงกว้างมากขึ้น สัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ไม่มีความหน่วงหรือความหน่วงต่ำมากๆ

ในยุค 5G คงทำให้ปัญหาสัญญาณอินเตอร์เน็ตเหล่านี้หมดไปได้

ในอนาคต คนไข้ที่อยู่ในโรงพยาบาลที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ และมีหุ่นยนต์ที่รองรับการทำงานแบบระบบรีโมทติดตั้งอยู่ ก็สามารถใช้บริการของหมอเก่งๆจากทั่วโลกได้

ในหลายประเทศ ระบบการรักษาพยาบาลแบบรีโมทเริ่มแพร่หลายแล้ว อยู่บ้านก็ส่งข้อมูลการตรวจเลือดตรวจปัสสาวะให้หมอแบบทางไกลได้ หมอสอบถามอาการคนไข้ผ่านทางวิดีโอคอล ใช้กล้องมองเห็นคนไข้ชัดเจน ไม่ต่างจากเห็นตัวเป็นๆ

อีกไม่เกิน 15 ปี เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ จะมีการพัฒนาจนถึงขีดสูงสุด และในวันนั้น การรักษาพยาบาลทั่วไป หรือแม้แต่การผ่าตัดทุกอย่าง คงสามารถทำได้ด้วยระบบรีโมทที่อยู่ห่างไกลกัน

แม้แต่หมอหุ่นยนต์ที่ผ่าตัดได้เอง ก็อาจเป็นเรื่องที่มีโอกาสได้เห็นในอนาคตเช่นกัน

https://www.zdnet.com/article/first-long-distance-heart-surgery-performed-via-robot/?utm_campaign=Abundance%20Insider&utm_source=hs_email&utm_medium=email&utm_content=76547925&_hsenc=p2ANqtz-9edJdnZrnmXi2OqIjAW_XS7_y1CpUYe3x7RZBnHFfvrZH9MgEAVGsDkVs1lGyiZepK5S2YutaczgkAcbBXhbcMF2AzwA&_hsmi=76547925

 

Leave a Reply