มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งอันดับหนึ่งของผู้หญิงทั่วโลก และเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งที่พบในผู้หญิงไทยด้วย
หญิงไทยมีอัตราการพบมะเร็งเต้านมประมาณ 40 คน ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ 100,000 คน แต่ในประเทศทางตะวันตกมีอัตราส่วนสูงกว่า คือ 100 คน ต่อ 100,000 คน
การตรวจมะเร็งเต้านมในวันนี้ ใช้การเอกซเรย์เต้านมซึ่งเรียกว่า Mammogram เพื่อดูสัญญาณของมะเร็ง โดยหมอรังสีวิทยาเป็นผู้ตัดสินว่าภาพที่เห็นใช่มะเร็งหรือไม่
แต่การวินิจฉัยของหมอรังสีวิทยา ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป หมอที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่าจะวินิจฉัยได้ถูกต้องมากกว่า
ในปัจจุบัน หมอรังสีวิทยามีการตรวจผ่านทางแมมโมแกรมและมีความผิดพลาดประมาณ 20% ทั้งนี้เป็นไปตามข้อมูลของสมาคมโรคมะเร็งอเมริกัน โดยศึกษาจากผลการวินิจฉัยของหมอในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
ผู้หญิงที่ตรวจพบสัญญาณมะเร็งเต้านมได้เร็วกว่า มีโอกาสรักษาหายได้มากกว่า
การศึกษาที่มีการเผยแพร่ใน Journal Nature เมื่อวันพุธที่ 1 มกราคม 2020 รายงานว่า วันนี้ AI มีแนวโน้มชัดเจนว่าสามารถคัดกรองคนที่เป็นมะเร็งเต้านมได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
ผลการศึกษาล่าสุดเป็นของ Alphabet’s DeepMind AI บริษัทแม่ของ Google เป็นความร่วมมือกับ Imperial College London และ Britain’s National Health Service ซึ่งได้ช่วยกันฝึกฝนให้ AI ทำงานได้เหมือนหมอรังสีวิทยา ให้มันศึกษาแมมโมแกรมของคนที่เป็นมะเร็งหลายหมื่นราย
หลังจากการฝึก AI เสร็จ มีการทดลองความถูกต้องในการทำงานของ AI ในการตรวจจับมะเร็งเต้านมจากข้อมูลที่รู้ผลแล้วจาก UK 25,856 ราย และ USA 3,097 ราย
ผลการศึกษาได้ข้อสรุปว่า AI ของกูเกิลสามารถระบุคนที่เป็นมะเร็งเต้านมได้ถูกต้องในระดับเดียวกับหมอผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีวิทยา แต่ AI มีอัตราส่วนของความผิดพลาดน้อยกว่า Radiologist
AI ลดจำนวนความผิดพลาดในการชี้ว่าผู้หญิงคนนั้น “เป็นมะเร็งเต้านม
แต่ที่จริงไม่ได้เป็นมะเร็ง” (False Positive Results) โดยในกลุ่มตัวอย่างจากอเมริกา AI ผิดพลาดน้อยกว่าหมอ 5.7% และในกลุ่มตัวอย่างจากยูเค AI ผิดพลาดน้อยกว่าหมอ 1.2%
AI มีการวินิจฉัยผิดพลาดว่า “ไม่เป็นมะเร็งเต้านม แต่ที่จริงเป็นมะเร็ง” ได้ดีกว่าหมอรังสีวิทยา (False Negative Results) โดยในกลุ่มตัวอย่างจากอเมริกา AI ผิดพลาดน้อยกว่าหมอ 9.4% และในกลุ่มตัวอย่างจากยูเค AI ผิดพลาดน้อยกว่าหมอ 2.7%
มีการทดสอบที่แยกออกมาเพื่อแข่งขันระหว่าง AI กับ Radiologist 6 คน ผลการศึกษาชี้ชัดว่า AI ตรวจจับมะเร็งเต้านมได้ถูกต้องมากกว่าหมอรังสีวิทยาอย่างชัดเจน
การพัฒนาให้ AI อ่านแมมโมแกรมคนที่เป็นมะเร็งเต้านมยังมีการทำอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลที่สอนให้ AI ได้เรียนรู้มากขึ้น จะยิ่งทำให้มันมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
วันนี้ไม่มีใครสงสัยแล้วว่า AI วินิจฉัยมะเร็งเต้านมได้ถูกต้องมากกว่าหมอรังสีวิทยา!!!
.
.
.
.