สร้างโปรตีนจากอากาศมาแทนถั่วเหลือง ไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ แร่ธาตุ ป้อนให้แบคทีเรียในดินกลายเป็นโปรตีน 2025 พลังงานโซลาร์ ลม ทำให้เป็นจริง

นักวิทยาศาสตร์จากฟินแลนด์กำลังสร้างโปรตีนจากอากาศ และมันอาจมาแข่งขันกับโปรตีนจากถั่วเหลืองได้ วันนี้ต้นทุนการผลิตยังสูง แต่วางเป้าหมายให้แข่งขันด้านราคาได้ภายในสิบปี คาดว่าโรงงานแห่งแรกจะเกิดขึ้นในปี 2025

ไอเดียการสร้างโปรตีนจากอากาศ เป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนามาจากโครงการอวกาศที่มีมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960

หลักการสร้างโปรตีนจากอากาศที่เรียกว่า Solein เริ่มจากการทำ ไฮโดรเจนที่แยกออกมาจากน้ำด้วยไฟฟ้า

ไฮโดรเจนที่แยกออกมาจากน้ำด้วยไฟฟ้า คาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ และแร่ธาตุ ถูกป้อนให้แบคทีเรีย แล้วมันกลายเป็นโปรตีนที่ใช้เป็นอาหารได้

ดูจากหลักการแล้ว ฟังดูง่ายมาก แต่ไม่มีรายละเอียดวิธีการทำ แร่ธาตุที่ป้อนให้แบคทีเรียก็ไม่มีข้อมูลว่าเป็นแร่ธาตุอะไรบ้าง แบคที่เรียที่เอามาจากดินก็ไม่รู้ว่าเป็นแบคทีเรียตัวไหน

วันนี้มีนักลงทุนที่เชื่อในหลักการของโครงการนี้ยอมลงทุนเริ่มแรกให้ด้วยเงิน 5.5 ล้านยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 188 ล้านบาท

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โครงการนี้เป็นจริง และมีต้นทุนการผลิตแข่งขันกับโปรตีนจากถั่วเหลืองได้ อยู่ที่ต้นทุนค่ากระแสไฟฟ้าที่ทำไฮโดรเจนที่แยกออกมาจากน้ำด้วยไฟฟ้า

มีการคาดหมายว่า ต้นทุนโปรตีน Solein จะเท่ากับต้นทุนการผลิตถั่วเหลืองได้ภายในสิบปีข้างหน้า และมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2025

ตามแผนการที่วางไว้ คือ

-ปี 2022 เริ่มมีแปลงสาธิตมาแสดง

-ปี 2023 ตัดสินใจเรื่องการลงทุนเต็มรูปแบบ

-ปี 2025 เริ่มมีโรงงานแห่งแรก

การเลี้ยงสัตว์หรือปลูกพืช เพื่อผลิตโปรตีนสำหรับมนุษย์ ต้องใช้พื้นที่มาก เป็นหนึ่งในตัวการใหญ่ที่สร้างปัญหากับสิ่งแวดล้อม และปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก แต่ Solein จะเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า

โปรตีน Solein ไม่มีรสชาติ เอาไปใช้เป็นสารเติมแต่งที่เป็นกลางสำหรับอาหารทุกประเภทได้ เช่น น้ำมันปาล์ม ไอศกรีม บิสกิต พาสต้า ก๋วยเตี๋ยว ซอส ขนมปัง ฯลฯ

Solein ยังสามารถเอาไปใช้เลี้ยง Cultured Meat หรือ Cultured Fish ซึ่งเป็นเนื้อเทียมที่ประดิษฐ์จากห้องแลป ไม่มีการเลี้ยงสัตว์หรือฆ่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร

พลังงานที่ใช้ในการผลิตโปรตีนจากอากาศจะมาจากพลังงานสะอาด เช่น ลม โซลาร์ วันนี้มีต้นทุนไม่ต่างจากพลังงานฟอสซิล และในอนาคตอันใกล้ จะมีต้นทุนต่ำกว่าเชื้อเพลิงถ่านหินอย่างชัดเจน

กุญแจสำคัญที่จะทำให้โครงการนี้สำเร็จและเป็นจริงได้ อยู่ที่ต้นทุนของพลังงาน

โลกต้องการโปรตีนเพื่อหล่อเลี้ยงมนุษย์จำนวนมาก และยังมีไม่เพียงพอ โครงการนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ และยังช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมบนโลกนี้ดีขึ้นด้วย

https://www.bbc.com/news/science-environment-51019798

 

Leave a Reply