ทำยามาทดลองใช้แบบเก่าใช้เวลา 5 ปี AI ทำ 1 ปี เริ่มสร้างมาใช้ครั้งแรกกับคน ช่วยออกแบบยาแก้โรคย้ำคิดย้ำทำ OCD ในอนาคต ยาทุกตัวอาจใช้ AI ช่วยผลิต

ก้าวสำคัญครั้งใหญ่ของโลกสำหรับการผลิตยาได้เกิดขึ้นแล้ว AI ช่วยทำให้ขบวนการผลิตยาเร็วขึ้นอีกมาก

โดยปกติแล้ว การพัฒนายาแต่ละตัวมาทดลองใช้ต้องใช้เวลาประมาณ 5 ปี แต่ยา AI ใช้เวลาทำเพียง 12 เดือน

ในขบวนการผลิตยา มีขบวนการตัดสินใจเพื่อหาโมเลกุลที่ถูกต้องนับพันล้านครั้ง และต้องตัดสินใจอย่างแม่นยำ ระบบอัลกอริธึมสามารถทำงานอย่างมีรูปแบบ ใช้เหตุผลตามหลักการ ไม่ใช้ความเชื่อส่วนตัวตัดสินใจ สามารถประยุกต์ใช้กับการสร้างยาทุกชนิด

วันนี้มีโมเลกุลยาที่คิดค้นโดย Artificial Intelligence และจะเริ่มนำมาทดลองใช้ครั้งแรกกับคน ถือว่าเป็นการนำ Machine Learning มาช่วยผลิตยาครั้งแรกในโลก

งานนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสตาร์ทอัพอังกฤษ Exscientia และบริษัทยาญี่ปุ่น Sumitomo Dainippon Pharma

ยาที่สร้างโดย AI ครั้งแรกของโลกตัวนี้ จะนำมารักษาคนไข้ซึ่งมีอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ obsessive-compulsive disorder (OCD)

โมเลกุลยารักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ DSP-1181 ถูกสร้างโดยใช้อัลกอริธึมมาร่อนกรองสารประกอบจำนวนมาก ตรวจสอบกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของพารามิเตอร์

ยาแก้โรคย้ำคิดย้ำทำตัวใหม่นี้จะเริ่มทดลองเฟสแรกในญี่ปุ่น ถ้าประสบความสำเร็จด้วยดี จะตามมาด้วยการทดสอบเพิ่มขึ้นในระดับโลก

ปี 2020 เป็นปีแรกที่มีการนำ AI มาช่วยออกแบบยา และภายในสิบปีนับจากวันนี้ ยาใหม่ทุกตัวในโลกอาจเป็นยาที่สร้างโดย AI เพราะเป็นหนทางเร่งระยะเวลาการค้นพบยาที่รวดเร็วขึ้น

นอกจากยาแก้โรคย้ำคิดย้ำทำแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำ AI มาช่วยพัฒนาสร้างยารักษาโรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดหัวใจ หวังไว้ว่าจะมีโมเลกุลอีกหลายตัว พร้อมสำหรับการทดลองภายในสิ้นปี 2020

เราเคยได้ยินข่าว AI ช่วยวินิจฉัยโรคโดยการเอาข้อมูลมาสแกนหาคำตอบมามากแล้ว วันนี้กำลังจะได้เห็น AI มาช่วยสร้างยาใหม่ในการรักษาโรคด้วย

https://www.bbc.com/news/technology-51315462

 

Leave a Reply