ภาพถ่ายผ่านดาวเทียมของนาซ่าช่วงวันที่ 1 มกราคม – 7 กุมภาพันธ์ 2020 โดยมีการวิเคราะห์เพิ่มเติมว่า… ประเทศไทยกำลังเจอภัยแล้งที่อาจเลวร้ายที่สุดในรอบสี่ทศวรรษ
ประมาณครึ่งหนึ่งของอ่างเก็บน้ำหลักของประเทศไทยมีกำลังผลิตน้ำต่ำกว่า 50%
ระดับน้ำในแม่น้ำต่ำมาก ต่ำจนน้ำทะเลจากมหาสมุทรหนุนกลับเข้าสู่แม่น้ำ และมีผลต่อน้ำดื่มของประเทศไทย
กำลังส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนักต่อเกษตรกรไทย 11 ล้านคน
ภาวะภัยแล้งในประเทศไทยเกิดจากฤดูมรสุมที่สั้นกว่าปกติ และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในปี 2019
Mekong River Commission (MRC) หรือ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อนซึ่งเริ่มต้นในวันนี้แล้ว
กรมอุตุฯ ประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2020 ไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน อุณหภูมิจะสูงขึ้นทั่วประเทศ โดยฤดูร้อนปีนี้จะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2020
ดาวเทียมของนาซ่าสามารถวัดปริมาณน้ำในดิน เครื่องวัดคลื่นวิทยุสามารถตรวจจับน้ำในพื้นดิน 5 เซนติเมตร นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลเลเยอร์พื้นผิวในแบบจำลองทางอุทกวิทยาเพื่อประเมินว่ามีน้ำมากน้อยแค่ไหน ซึ่งมีความสำคัญต่อเกษตรกรอย่างมาก
ภาพถ่ายของนาซ่าแสดงให้เห็นความผิดปกติของความชื้นในดิน และได้เห็นปริมาณน้ำที่อยู่บนผิวหน้าของพื้นดิน
พวกเราอยู่ประเทศไทย ได้ข่าวปัญหาภัยแล้งมาตั้งแต่ปีที่แล้ว หลายคนได้เจอปัญหาน้ำประปาที่เค็มผิดปกติ ได้เห็นเกษตรกรมีปัญหาเรื่องผลผลิต ใครมีโอกาสเดินทางไปต่างจังหวัดจะรู้สึกและเห็นได้ด้วยตาตัวเอง พื้นที่ในท้องทุ่งที่ปกติเป็นสีเขียว กลายเป็นสีน้ำตาล ทุ่งนาหลายแห่งมีต้นข้าวแห้งตายอยู่กลางทุ่ง
ถ้าประเทศไทยยังต้องพึ่งพาธรรมชาติอยู่เป็นหลัก ความไม่แน่นอนก็จะเป็นความแน่นอน เจอปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก หากภาครัฐไม่บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เราก็จะได้เจอปัญหาแบบนี้อยู่เรื่อยไป
มีข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์ให้เห็นอยู่มากมาย แต่รู้แล้วไม่ทำอะไรก็ไร้ประโยชน์ หรืออาจเป็นเพราะไม่เห็นความสำคัญ และไม่ต้องการทำอะไร ปล่อยให้คนไทย 11 ล้านคนเผชิญโชคชะตาเอาเอง…
https://earthobservatory.nasa.gov/images/146293/drought-hits-thailand