ขนุน ทุเรียน กำลังจะเป็นที่กักเก็บไฟฟ้า นักวิจัยใช้ขยะธรรมชาติมาทำประโยชน์ แบตเตอรี่จากธรรมชาติ ย่อยสลายง่าย

ทีมนักวิจัยจากออสเตรเลียทดลองระบบกักเก็บพลังงานแบบใหม่จากผลไม้ คือ ขนุน และทุเรียน

เริ่มต้นจากการนำแกนขนุนและทุเรียน มาทำให้มันร้อน แล้วทำให้มันแห้ง จากนั้นใช้วิศวกรรมหล่อโลหะออกไซด์ลงไป จากการดำเนินการตามขบวนการนี้ ทำให้ส่วนของผลไม้ที่กินไม่ได้กลายเป็น Carbon-Rich Aerogel ซึ่งมีน้ำหนักเบา เป็นวัสดุของแข็งที่มีช่องว่างหรือโพรงขนาดเล็กภายในโครงสร้าง

ผลการทดลอง พบว่า มันสามารถปรับเป็นอุปกรณ์จัดเก็บพลังงานที่มีความหนาแน่นมาก เอามาใช้ซ้ำได้อย่างน่าเชื่อถือ สำหรับการชาร์จและการปล่อยกระแสไฟฟ้า

ผลการวิจัยรายงานว่า มีความเสถียรยอดเยี่ยม สามารถใช้ซ้ำในระยะยาว พลังงานที่กักเก็บเอาไว้มีความหนาแน่น

มีรายละเอียดขั้นตอน และผลการทดลองตามลิงก์ที่แนบมา https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2352152X19309077#!

ความสำคัญหรือประโยชน์ของงานวิจัยนี้ อาจช่วยทำให้เกิดความยั่งยืนของโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานมากขึ้น ระบบกักเก็บพลังงานเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

การใช้ประโยชน์จาก Biowaste หรือขยะจากธรรมชาติเป็นเป้าหมายหลักของการวิจัยคราวนี้

ขณะนี้อยู่ในช่วงทดลองเท่านั้น ยังไม่มีความชัดเจนว่า ระบบกักเก็บพลังงานที่ใช้วิธีการแบบชีววิทยา จะสามารถยกระดับจำนวนที่มีให้ตรงกับความต้องการพลังงานในโรงไฟฟ้าสมัยนี้ได้มากน้อยขนาดไหน

ระบบกักเก็บพลังงานแบบนี้ ทำงานได้เหมือนกับแบตเตอรี่ และเป็นการนำสิ่งที่เป็นขยะส่วนเกินมาใช้ประโยชน์มากขึ้น

นอกจากได้ระบบกักเก็บพลังงานแล้ว ยังช่วยเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย

แบตเตอรี่ที่มีใช้อยู่ทุกวันนี้ โดนกล่าวหาว่าเป็นตัวการสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม

แต่แบตเตอรี่ที่ทำจาก ขนุน และ ทุเรียน เป็นสิ่งที่ได้มาจากธรรมชาติ ย่อยสลายได้ง่าย อาจเป็นแนวทางที่ทำให้เกิดโลกสีเขียวมากขึ้น!

https://futurism.com/the-byte/storing-energy-uneaten-fruit?utm_campaign=Abundance%20Insider&utm_source=hs_email&utm_medium=email&utm_content=84723669&_hsenc=p2ANqtz-_DONju_xmHHQqLp_H_stvOIGFdqSBNze1Pp9z28xqfEYLaqtUhpf7eYHrq_3s448NKBcDkOiJ4Xz_ICH1IBIDabhK_9A&_hsmi=84723669

.

Leave a Reply