โคโรน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่ หรือ COVID-19 เป็นเรื่องใหม่ที่โลกเพิ่งรู้จักมันไม่ถึง 3 เดือน ข้อมูลต่าง ๆ ที่มี นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีผลการวิจัยหรือผลการทดลองที่สามารถยืนยันทางวิชาการได้อย่างแน่ชัด
ถ้าดูจากประสบการณ์แล้ว ประเทศจีนซึ่งวันนี้มีผู้ติดเชื้อ COVID-19 มากที่สุดในโลก เป็นประเทศที่มีข้อมูลมากที่สุด มีคนป่วยให้ทดลองรักษามากมาย
แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ COVID-19 ที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุด คือ WHO หรือ องค์การอนามัยโลก ในช่วงนี้มีรายงานสถานการณ์ความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องทุกวัน
คำแนะนำซึ่งเป็นคำเตือนล่าสุดจาก WHO คือ ให้ระวังการแพร่กระจายของไวรัสในอากาศ
ความร้อน ความชื้น เป็นปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ COVID-19 สามารถมีชีวิตอยู่รอดลอยอยู่ในอากาศได้นานขึ้น และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ติดเชื้อจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ต้องมีการระวังมากขึ้น
ไวรัสส่วนใหญ่แพร่กระจายผ่านหยดของเหลวจากการไอหรือจาม
ช่วงที่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ทำ Aerosol-Generating Procedure ซึ่งเป็น การพ่นยา การใส่ท่อช่วยหายใจ การดูดเสมหะ กิจกรรมเหล่านี้สามารถทำให้เชื้อติดไปกับเสมหะชิ้นเล็ก และมีความเป็นไปได้ที่เชื้อไวรัสลอยอยู่ในอากาศได้นานขึ้นเล็กน้อย ผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือต้องระวังมากขึ้น ต้องใส่หน้ากาก N95
สำหรับผู้ติดเชื้อ และเป็นพาหะแพร่เชื้อจากคนสู่คน ไวรัสแพร่กระจายผ่านการไอหรือจาม เชื้อโรคตกหล่นติดอยู่กับวัตถุรอบตัวที่ไม่มีชีวิต มันสามารถลอยอยู่ในอากาศได้ แต่การคงอยู่ในอากาศจะขึ้นอยู่กับปัจจัยบางอย่าง เช่น ความร้อน ความชื้น
ในวันนี้ นักวิทยาศาสตร์กำลังทดลองหาข้อสรุปว่า ไวรัสที่ตกหล่นอยู่บนพื้นผิววัตถุชนิดไหนจะมีชีวิตอยู่รอดได้นานกว่า
U.S. Centers for Disease Control and Prevention กำลังศึกษาอย่างจริงจัง และในเบื้องต้นมีข้อมูลว่า COVID-19 ที่ตกอยู่บนพื้นผิวทองแดงและเหล็ก จะอยู่ได้นานประมาณ 2 ชั่วโมง แต่ถ้าอยู่บนกระดาษแข็งหรือพลาสติก ไวรัสจะมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า
Dr. Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ให้ข้อมูลในงานแถลงข่าวประจำวันจันทร์ที่ 16-03-2020 ว่า…
“เรายังไม่เห็นการเพิ่มขึ้นอย่างเร่งด่วนของการทดสอบ ยังมีไม่มากพอ”
“การแยกผู้ติดเชื้อออกมา และติดตามเส้นทางการสัมผัสของคนกลุ่มนี้ เป็นหัวใจการตอบสนองที่สำคัญ”
“เรามีข้อความง่าย ๆ สำหรับทุกประเทศ คือ ทดสอบ ทดสอบ ทดสอบ”
“ทดสอบผู้ต้องสงสัยทุกราย ถ้าผลการทดสอบเป็นบวก ให้แยกพวกเขาออกมา และค้นหาว่าเขาได้ติดต่อสัมผัสกับใครในช่วง 2 วันที่ผ่านมาก่อนที่จะมีอาการ และให้ทำการทดสอบคนเหล่านั้นด้วย”
ไม่แน่ใจว่า ประเทศไทยจะทำตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกได้มากน้อยแค่ไหน
ค่าใช้จ่ายในการทดสอบ อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การทดสอบผู้ต้องสงสัยติดเชื้อในประเทศไทย ยังมีไม่มากพอ…