เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2020 ธุรกิจ 4.0 เสนอข่าวทีมวิจัยจาก Carnegie Mellon University ของอเมริกา กำลังพัฒนาแอปใหม่ที่ใช้ AI วิเคราะห์เสียง “ไอ” และ “พูด” ของคนที่ต้องการทดสอบ แล้วบอกได้ว่า.. มีแนวโน้มเป็นผู้ติดเชื้อ COVID-19 หรือไม่
.
เนื่องจากเป็นข่าวที่เสนอในวันที่ 1-04-2020 เลยมีหลายคนคิดว่าเป็นข่าว April Fools’ Day หรือวันโกหกโลก
ขอย้ำอีกครั้งว่าเป็น “ข่าวจริง”!!!
วันที่ 8-04-2020 สำนักข่าว BBC ได้เสนอข่าวนี้เช่นกัน และมีข้อมูลเพิ่มเติมว่า The Cambridge University ของสหราชอาณาจักร ก็กำลังพัฒนาเอา Machine Learning ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานของ AI ที่เรียกว่า Voice Recognition หรือ ระบบการจดจำเสียง มาช่วยตรวจสอบเสียงคนว่าติดเชื้อ COVID-19 หรือไม่
ทั้งสองมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกจากอเมริกาและสหราชอาณาจักร คิดตรงกัน กำลังพัฒนาให้ AI ฟังเสียง “ไอ” และ “พูด” เพื่อคาดเดาว่าเสียงนั้นเป็นเสียงของคนที่ติดเชื้อ COVID-19 หรือไม่
ทั้งสองโครงการทำงานเป็นอิสระต่อกัน แต่มีเรื่องเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวแตกต่างกัน
ผู้ใช้งานหรือให้ข้อมูลกับ Covid Voice Detector ของ Carnegie Mellon University ต้องแจ้งข้อมูลส่วนตัวที่มีการระบุตัวตนชัดเจน
ส่วนของ The Cambridge University ยังเป็นช่วงของการเก็บข้อมูล และผู้ให้ข้อมูลไม่ต้องเปิดเผยตัวตน
มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ เปิดตัวโครงการ COVID-19 Sounds เมื่อวันอังคารที่ 7-04-2020 https://www.covid-19-sounds.org/en/
ผู้ที่เข้าร่วมโครงการถูกเชิญให้ “หายใจ” “ไอ” ใส่ไมโครโฟนของคอมพิวเตอร์ พร้อมกับการให้ข้อมูลอื่นๆ คือ อายุ เพศ พื้นที่อยู่อาศัยแบบคร่าวๆ และช่วยตอบคำถามว่า เร็วๆนี้ได้ทำการตรวจเชื้อแล้วพบว่ามีผลบวกหรือติดเชื้อ COVID-19 หรือไม่ หลังจากนั้นขอให้ช่วยอ่านข้อความนี้ 3 รอบ คือ
“I hope my data can help to manage the virus pandemic”
“I hope my data can help to manage the virus pandemic”
“I hope my data can help to manage the virus pandemic”
แปลไทยได้ว่า.. “ฉันหวังว่าข้อมูลของฉันสามารถช่วยจัดการกับการระบาดของไวรัสได้”
จุดประสงค์ของการเก็บข้อมูลเหล่านี้ เพื่อเอาเสียงไปวินิจฉัยว่าเป็นคนที่ติดเชื้อ COVID-19 หรือไม่ และอาจบอกได้ด้วยว่าเป็นการติดเชื้อที่อยู่ในขั้นใด
ในวันแรกที่เปิดตัวโครงการนี้ของแคมบริดจ์ มีประชาชนให้ความร่วมมือเป็นกลุ่มตัวอย่างในการบันทึกเสียง 1,200 คน โดยในจำนวนนี้มี 22 คนที่บอกว่าตัวเองติดเชื้อ COVID-19
ทีมวิจัยแคมบริดจ์หวังไว้ว่าจะสามารถสร้างแอปนี้ให้เสร็จจนใช้งานได้ภายใน 2 เดือน
อัตราความถูกต้องในการวินิจฉัยผู้ติดเชื้อด้วยวิธีนี้ ขึ้นอยู่กับคุณภาพและจำนวนของข้อมูลที่ได้รับเพื่อใช้ในการเรียนรู้ของ AI ยิ่งมีข้อมูลมากขึ้น ความถูกต้องจะมีมากขึ้น
การวินิจฉัยหาผู้ติดเชื้อจากเสียงโดย AI ใช้เวลาไม่นาน รู้ผลได้ทันที
หากเอาแอปนี้ไปใช้กับ Call Center ตามโรงพยาบาล หรือศูนย์บริการทางด้านสุขภาพต่างๆ มันจะช่วยทำให้ค้นหาผู้ติดเชื้อได้รวดเร็วขึ้น และหยุดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งที่กำลังพัฒนาโครงการนี้ รู้ดีว่า คงไม่สามารถเอา AI มาทดแทนการตรวจเชื้อทางการแพทย์ได้ทั้งหมด ยังมีอุปสรรคหลายอย่างที่ต้องเจอและหาทางจัดการให้ได้
แต่ในยามนี้ มันเหมือนภาวะสงครามที่ทุกคนต้องร่วมมือกันตามกำลังความสามารถที่มี
เสียงของผู้ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ มีความแตกต่างซึ่งมีรูปแบบที่สามารถกำหนดได้ มีความสัมพันธ์ที่มีตัวร่วมที่ “เหมือนกัน” และ “แตกต่างกัน”
ระบบการทำงานของ AI ใช้หลักการทางสถิติ การคาดการณ์หาผู้ติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อ วิเคราะห์จากความน่าจะเป็นไปโดยใช้ฐานข้อมูลจำนวนมากที่มี
การเก็บข้อมูลเสียงทำได้อย่างรวดเร็ว และต้นทุนต่ำ หาก AI คัดกรองแล้วพบว่าเป็นผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อสูง ค่อยมาตรวจสอบด้วยวิธีทางการแพทย์อีกครั้งก็ได้ น่าจะมีอัตราส่วนเจอคนติดเชื้อ COVID-19 สูงกว่าการตรวจสุ่มโดยทั่วไป….
https://www.bbc.com/news/technology-52215290