
Committee to Protect Journalists (CPJ) หรือ คณะกรรมการปกป้องนักข่าวโลก รายงานว่า ในปี 2020 ทั่วโลกมี Journalist ถูกฆ่าไม่ต่ำกว่า 30 คน เป็นตัวเลขที่สูงกว่าปี 2019 มากกว่า 20 คน
สาเหตุการตายของผู้สื่อข่าว มาจากการรายงานข่าวที่ขัดผลประโยชน์กับผู้มีอิทธิพล และถูกตอบโต้ด้วยการฆ่าให้ตาย
ยังมีนักข่าวอีกหลายรายที่ถูกฆ่าตาย และอยู่ระหว่างการสอบสวน แต่ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเป็นผลมาจากการทำงาน
ปี 2020 เม็กซิโก ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้สื่อข่าว มีนักข่าวถูกฆ่าตาย 9 คน แม้แต่พวกที่เป็นบอร์ดี้การ์ดนักข่าวก็ถูกฆ่าด้วย นับเฉพาะเดือนพฤศจิกายน 2020 มีนักข่าวถูกฆ่าตาย 3 คน
นับตั้งแต่ปี 2000 ถึงปัจจุบัน ในประเทศเม็กซิโก มีผู้สื่อข่าวถูกฆ่าตายไปแล้วไม่น้อยกว่า 120 คน และคดีส่วนใหญ่ไม่สามารถคลี่คลายหาคนผิดได้
มีการเปรียบเทียบแล้วพบว่า ประเทศเม็กซิโกที่อยู่ในเมือง เป็นเขตอันตรายสำหรับนักข่าวมากกว่าในสนามรบ
นักข่าวที่ตายในสนามรบ มีน้อยกว่านักข่าวที่ตายในเม็กซิโก
ปี 2020 ในเขตสงครามทางตอนเหนือของประเทศซีเรีย มีนักข่าวตายในสนามรบเพียง 3 คน
สาเหตุที่นักข่าวโดนทำร้าย ซึ่งหลายครั้งถึงขั้นเสียชีวิต เพราะได้รายงานข่าวที่สืบสวนแล้วพบการโยงใยระหว่าง ข้าราชการคอร์รัปชัน กับองค์กรอาชญากรรม
เจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมมือกับอาชญากร หรือข้าราชการเป็นมาเฟียเอง ฆ่าปิดปากนักข่าว
ใครที่คิดจะเปิดเผยความชั่วร้ายการคอร์รัปชันของข้าราชการ ต้องคิดให้ดีก่อนรายงานข่าว!
คณะกรรมการปกป้องนักข่าวโลก สรุปว่า 3 ประเทศในโลกที่อันตรายที่สุด และมีนักข่าวถูกฆ่าปิดปากมากที่สุด คือ เม็กซิโก อัฟกานิสถาน และ ฟิลิปปินส์
สื่อ เป็นฐานันดรที่ 4 ซึ่งหมายถึง สถาบันที่มีแรงขับดันทางสังคมและการเมือง เป็นผู้ที่สามารถเข้าถึงและเผยแพร่ข้อมูลในวงกว้าง มีอิทธิพลต่อผู้รับรู้ข่าวสาร เป็นกลุ่มคนที่มีฐานะพิเศษในสังคม
แต่การทำงานของนักข่าว ในบางครั้งต้องเอาชีวิตของตัวเองเข้าแลก!!!