
University of Oulu จากฟินแลนด์ กำลังพัฒนาเครื่อง X-ray แบบพกพา ซึ่งแม้แต่ผู้ป่วยก็สามารถเอกซเรย์ตัวเองได้
ต้นแบบเครื่องเอกซเรย์แบบพกพาจากฟินแลนด์นี้ มีขนาดประมาณ 50x50x130 ซม. มีระบบป้องกันรังสีในตัว
เครื่องเอกซเรย์ที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีขนาดใหญ่มาก ต้องสร้างระบบป้องกันสารตะกั่วสำหรับทั้งห้อง ใช้พื้นที่มาก มีราคาแพง
แต่เอกซเรย์แบบพกพารุ่นใหม่ มีขนาดเล็ก ใช้งานง่าย เอาไปใช้ที่ไหนก็ได้ เช่น รถพยาบาล สนามกีฬา คลินิกฉุกเฉิน ฯลฯ
เครื่องเอกซเรย์จำเป็นต้องใช้มากที่สุดในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้กระดูกหัก หากรู้ว่าปัญหากระดูกหักอยู่บริเวณไหน จะสามารถดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น ป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงขึ้นระหว่างการส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล
อุปกรณ์นี้ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วย สามารถส่งผู้ป่วยไปทำการรักษาแบบเฉพาะทางได้ทันที
เครื่องคอมพิวเตอร์จะแนะนำการใช้งานทุกขั้นตอนโดยละเอียด
นวัตกรรมนี้ เป็นอุปกรณ์ที่สามารถควบคุมผู้ป่วยโดยอัตโนมัติ มีคำแนะนำผู้ป่วยว่า จะตั้งแขนขาที่บาดเจ็บให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องสำหรับการถ่ายภาพอย่างไร
งานเอกซเรย์ที่เคยเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก ใช้เวลานาน มีค่าใช้จ่ายสูง วันนี้แม้แต่คนเจ็บยังสามารถทำเองได้ ช่วยแบ่งเบาภาระงานของบุคลากรด้านเอกซเรย์ที่ในอดีตต้องฝึกอบรมวิธีการใช้งานอยู่นาน
ขณะนี้ยังเป็นเครื่องต้นแบบเท่านั้น แต่อีกไม่นานจะได้เห็นมีการเอาไปใช้งานจริง
แม้ว่าเครื่องเอกซเรย์จะไม่ใช่อุปกรณ์ที่ซับซ้อนอะไรมากนัก แต่เครื่องเอกซเรย์แบบพกพา สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยให้ดีขึ้น
หากมีการเชื่อมต่อข้อมูลเอกซเรย์ของผู้ป่วยกับศูนย์ข้อมูลที่มีหมอผู้เชี่ยวชาญทางการรักษาอยู่ปลายทาง ถ้าปัญหาไม่รุนแรงมากนัก อีกหน่อย อาจไม่ต้องไปโรงพยาบาลก็ได้!!!