
ในปี 2019 Climate Central จากสหรัฐอเมริการายงานผลการวิจัยว่า ภายในปี 2100 จะมีประชากรประมาณ 190 ล้านคนบนโลกในวันนี้ กลายเป็นคนที่อาศัยที่อยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แต่ถ้ามีการปล่อยคาร์บอนมากขึ้น จะยิ่งเลวร้ายมากขึ้น
กรุงเทพฯก็อยู่ในกลุ่มเมืองที่มีความเสี่ยงจากน้ำท่วมสูงมากๆ
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศซึ่งทำให้โลกร้อนขึ้น ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น และมันเริ่มกินพื้นที่บนบกของชายฝั่งทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รายงานล่าสุดที่เผยแพร่ใน Ocean Science เมื่อวันอังคารที่ 2-02-2021 ประเมินผลเรื่องระดับน้ำทะเลที่จะเพิ่มขึ้นทั่วโลก เลวร้ายกว่าการวิจัยที่นักวิทยาศาสตร์เคยประเมินมาก่อน
ผลการวิจัยครั้งใหม่สรุปว่า น้ำจะท่วมชายฝั่งทั่วโลก และมีผลกระทบต่อประชากร 2 ใน 5 ของคนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล
การเติบโตของอุตสาหกรรมทั่วโลก หมายถึงความบอบช้ำของสภาพภูมิอากาศ และส่งผลให้เกิดน้ำท่วมโลก
บริษัทที่รับประกันความเสียหายทรัพย์สินหลายล้านล้านดอลลาร์ กำลังอยู่ในความเสี่ยงยิ่งกว่าความเสี่ยงที่จะเจอน้ำท่วมจากพายุใหญ่หรือคลื่นยักษ์
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ประเทศต่างๆจะต้องควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าแผนเดิมที่วางเอาไว้ เพื่อทำให้ระดับน้ำทะเลไม่สูงขึ้นจนภัยร้ายแรงกับมนุษย์
แบบจำลองที่วางไว้ประเมินว่า ภายในสิ้นศตวรรษนี้ หากอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 0.5 องศา ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตร
ถ้าโลกร้อนขึ้น 2 องศา ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 1 เมตร
แต่ยังพอมีหนทางกู้โลกด้วยนโยบายสภาพภูมิอากาศที่ร่วมมือกันทั่วโลก
สรุปผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มขึ้นของอุณภูมิโลกได้ละลายน้ำแข็งไปแล้ว 28 ล้านล้านเมตริกตัน เทียบเท่ากับแผ่นน้ำแข็งหนา 100 เมตรที่ปกคลุมทั่วสหราชอาณาจักร มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นให้เห็นแล้ว และมีแนวโน้มจะเลวร้ายมากขึ้น
สำหรับคนทั่วไป คงมองเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องไกลตัว กว่าจะกลายเป็นปัญหาที่มองเห็นชัดเจน คนส่วนใหญ่ที่ยังมีชีวิตอยู่ในวันนี้ก็คงตายไปแล้ว แต่มันหมายถึงการส่งต่อปัญหาให้คนรุ่นต่อไป….