
นักวิจัย MIT สร้างเครื่องเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำดื่มแบบพกพาได้สำเร็จ ขนาดเท่ากระเป๋าเอกสาร น้ำหนักต่ำกว่า 10 กิโลกรัม ใช้พลังงานน้อยกว่าโทรศัพท์มือถือ ใช้โซลาร์เซลล์ขนาดเล็กแบบพกพาแทนแบตเตอรี่ได้
ตัวต้นแบบปัจจุบัน ผลิตน้ำดื่มได้ในอัตรา 0.3 ลิตรต่อชั่วโมง ใช้พลังงานเพียง 20 วัตต์ต่อลิตร ในอนาคตจะพัฒนาปรับปรุงให้อุปกรณ์เป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้น ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระบบแยกเกลือออกจากน้ำทะเลแบบพกพาอื่นๆที่มีขายอยู่ในตลาดปัจจุบัน เป็นเครื่องที่ต้องการปั๊มแรงดันสูงเพื่อดันน้ำผ่านตัวกรอง มีขนาดใหญ่ กินไฟมาก และต้องเปลี่ยนแผ่นกรองบ่อย
แต่เครื่องเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำดื่มของ MIT นี้ ไม่ต้องใช้แผ่นกรอง มีขนาดเล็ก บำรุงรักษาง่าย กินไฟต่ำ ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Ion Concentration Polarization หรือ ICP
กระบวนการทำงานของ ICP ใช้สนามไฟฟ้ากับเยื่อสองแผ่นที่วางอยู่เหนือและใต้ช่องน้ำ เมื่อน้ำไหลผ่านสนามไฟฟ้าระหว่างเยื่อหุ้มทั้งสอง เมมเบรนจะขับไล่อนุภาคที่มีประจุบวกหรือลบ ซึ่งรวมถึง โมเลกุลของเกลือ แบคทีเรีย และไวรัส
หลังจากผ่านเทคนิค ICP ยังไม่ทำให้เกลือหายไปทั้งหมด ต้องเพิ่มกระบวนการอิเล็กโตรไอไลซิสเพื่อกำจัดไออนของเกลือที่เหลืออยู่
การทำงานของเครื่องนี้ เป็นระบบอัตโนมัติที่ผู้ใช้งานกดปุ่มเพียงครั้งเดียว มีแอปสมาร์ทโฟนที่สามารถควบคุมการทำงานแบบไร้สาย รายงานข้อมูลแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับการใช้พลังงาน และความเค็มของน้ำ
)
.
การทำงานของเครื่องทำน้ำทะเลเป็นน้ำจืดดื่มได้นี้ เป็นระบบอัตโนมัติที่ผู้ใช้งานกดปุ่มเพียงครั้งเดียว มีแอปสมาร์ทโฟนที่สามารถควบคุมการทำงานแบบไร้สาย รายงานข้อมูลแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับการใช้พลังงาน และความเค็มของน้ำ
น้ำดื่มที่ผลิตได้จากอุปกรณ์นี้ มีคุณภาพสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก
อุปกรณ์แยกเกลือออกจากน้ำทะเลแบบพกพา สามารถเอาไปใช้ในพื้นที่ห่างไกลและทรัพยากรมีจำกัด เช่น ชุมชนชายฝั่งทะเล เกาะเล็กๆ เรือประมง เรือขนส่งสินค้าในทะเล ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เพื่อช่วยผู้ลี้ภัยที่หนีภัยธรรมชาติ หรือ สำหรับการปฏิบัติการทางทหารระยะยาว
นับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่เป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ช่วยทำให้โลกน่าอยู่ขึ้นได้!!!