Dyson เดินหน้าพัฒนาด้านหุ่นยนต์ สร้างศูนย์วิจัยใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร พร้อมเผยภาพหุ่นยนต์ต้นแบบช่วยทำงานบ้าน

  • วิดีโอจาก Dyson เผยโฉมหุ่นยนต์ตัวต้นแบบจากห้องปฏิบัติการของ Dyson ที่กำลังใช้มือจักรกลจับสิ่งของต่างๆ เป็นสัญญาณการเดินหน้าพัฒนาด้านหุ่นยนต์ที่ไปไกลกว่าแค่หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
  • Jake Dyson หัวหน้าทีมวิศวกรของ Dyson เผยว่ากำลังพัฒนาศูนย์วิจัยด้านหุ่นยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร ณ ศูนย์ Hullavington Airfield พร้อมเชิญชวนวิศวกรด้านหุ่นยนต์มาร่วมงาน
  • การพัฒนาด้านหุ่นยนต์เป็นศูนย์กลางของแผนการลงทุนระยะเวลา  5 ปี มูลค่า 2,750 ล้านปอนด์ของ Dyson

กรุงเทพฯ 26 พฤษภาคม 2565 – Dyson เผยผลงานล่าสุดของแผนพัฒนาลับด้านหุ่นยนต์เพื่อช่วยงานในบ้าน ภายในงานประชุมนานาชาติด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (ICRA) ที่จัดขึ้นในรัฐฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา พร้อมเชิญชวนวิศวกรด้านหุ่นยนต์มาร่วมกระบวนการในการพัฒนาสู่อนาคตของเทคโนโลยีหุ่นยนต์

ภายในงาน Dyson ได้เผยถึงความมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าสู่นวัตกรรมขั้นสูงด้านหุ่นยนต์ และเผยถึงการพัฒนาอันรวดเร็วในการสร้างอุปกรณ์อัตโนมัติที่สามารถช่วยทำงานบ้านหรืองานอื่นๆ ได้ โดยในวิดีโอที่เปิดภายในงานและแชร์ผ่านโซเชียลมีเดีย เผยให้เห็นหุ่นยนต์ที่ออกแบบโดย Dyson คล้ายมือหยิบจับสิ่งของ อันเป็นสัญญาณว่า Dyson กำลังเดินหน้าพัฒนาไปไกลกว่าแค่หุ่นยนต์ดูดฝุ่นธรรมดา นำโดยหัวหน้าทีมวิศวกรอย่าง Jake Dyson ที่นำทีมในโครงการลับที่วิจัยและพัฒนาภายในศูนย์ Hullavington Airfield ในเมือง Wilshire

Dyson ได้เดินมาถึงครึ่งทางในการสรรหาบุคลากรด้านวิศวกรรมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท ภายในปีนี้ Dyson ได้จ้างงานไปแล้วกว่า 2,000 คน โดย 50 เปอร์เซนต์คือวิศวกร นักวิทยาศาตร์ และ นักเขียนโค้ด เพื่อเสริมกำลังขับเคลื่อนสู่เป้าหมายด้านศาสตร์หุ่นยนต์อย่างจริงจัง โดยได้ทำการจ้างวิศวกรเฉพาะทางแล้วกว่า 250 คนในหลากหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์วิทัศน์, แมชชีนเลิร์นนิ่ง, เซนเซอร์, และเมคคาทรอนิกส์ และคาดว่าจะจ้างงานวิศวกรด้านหุ่นยนต์เพิ่มขึ้นอีก 700 ตำแหน่งภายในระยะเวลา 5 ปี โดยแผนหลักคือการสร้างให้ศูนย์ Hullavington Airfield กลายเป็นศูนย์วิจัยด้านหุ่นยนต์ที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในสหราชอาณาจักรเพื่อนำเทคโนโลยีที่ได้จากการค้นคว้ามาใช้ในบ้านภายในทศวรรษนี้

โดยวิศวกรที่จะมาร่วมงานกับ Dyson จะประจำอยู่ 2 ที่ ได้แก่ศูนย์ Hullavington Airfield ที่เมือง Wiltshire ใกล้กับห้องปฏิบัติการเดิมของ Dyson ที่อิมพีเรียลคอลเลจ และสำนักงานใหญ่ของ Dyson ในประเทศสิงคโปร์ โดยภายใน 6 เดือนที่ผ่านมาได้ทำการปรับปรุงอาคารหลัก ในศูนย์ Hullavington Airfield เพื่อต้อนรับนักพัฒนาหุ่นยนต์ 250 ชีวิต การปรับปรุงแปลงโฉมในครั้งนี้นับเป็นขั้นตอนล่าสุดของแผนการพัฒนามูลค่า 2,750 ล้านปอนด์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก โดยในปีนี้จะใช้งบลงทุนโดยประมาณที่ 600 ล้านปอนด์

Jake Dyson หัวหน้าทีมวิศวกรของ Dyson กล่าวว่า “Dyson จ้างนักพัฒนาหุ่นยนต์คนแรกเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว จนกระทั่งปีนี้เรากำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญด่นหุ่นยนต์เพิ่มถึง 250 คน ถือเป็นการลงทุนในอนาคตด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่จะขับเคลื่อนการวิจัยของ Dyson ทั้งหมด ทั้งในด้านวิศวกรรมเครื่องจักร ระบบวิชั่น แมชชีนเลิร์นนิ่ง และการกักเก็บพลังงาน ดังนั้นเราจึงต้องการกลุ่มคนที่เก่งที่สุดมาร่วมงานกับเรา”

ก่อนหน้าการพัฒนาด้านหุ่นยนต์ในครั้งนี้ หุ่นยนต์ของ Dyson ที่มีได้แก่หุ่นยนต์ดูดฝุ่น โดยมี DC06 เป็นรุ่นแรกที่ออกแบบเมื่อ 20 ปีที่แล้ว จนกลายเป็นตัวต้นแบบที่นำมาแสดงในวันนี้ แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งในด้านการควบคุมหุ่นยนต์ แมชชีนเลิร์นนิ่ง การรับรู้ด้านภาพ ตลอดจนการควมคุมและการสั่งการ ซึ่งนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการลงทุนเพื่ออนาคตของ Dyson แล้วยังแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เรายังต้องพัฒนาต่อไปอีกด้วย

สามารถรับชมวิดีโอเกี่ยวกับการพัฒนาด้านหุ่นยนต์ของ Dyson ที่แสดง ณ งานประชุมนานาชาติด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (ICRA) ที่จัดขึ้นที่รัฐฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกาได้ที่นี่

###

เกี่ยวกับ Dyson

Dyson คือบริษัทด้านการวิจัยและเทคโนโลยีระดับโลก ด้วยงานด้านวิศวกรรม วิจัย พัฒนา ผลิต และทดสอบการปฏิบัติการในสิงคโปร์ สหราชอาณาจักร มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เริ่มต้นจากโรงรถในสหราชอาณาจักร Dyson เติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อตั้งในปี 1993 ปัจจุบัน Dyson มีสำนักงานเทคโนโลยี 2 แห่งในสหราชอาณาจักรภายใต้พื้นที่กว่า 800 เอเคอร์ใน มาล์มสบิวรี และ ฮัลลาวิงตัน และสำนักงานใหญ่ที่สิงคโปร์ Dyson ได้ลงทุนในสำนักงานที่ วิลต์เชอร์ และห้องทดลองไปกว่า 1 พันล้านปอนด์เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของ Dyson ในอนาคต Dyson ยังคงเป็นบริษัทของครอบครัวที่มีพนักงานกว่า 13,000 คนทั่วโลก รวมถึงวิศวกรกว่า 5,000 คน วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใน 84 ประเทศทั่วโลก มีร้าน Dyson Demo Store กว่า 318 แห่ง โดยเปิดร่านใหม่ในปี 2021 จำนวน 50 ร้านทั่วโลกรวมถึงร้าน Dyson Virtual Reality Demo Store ด้วย

  

Dyson จะลงทุนเป็นมูลค่า 2.75 พันล้านปอนด์เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงโลก โดยภายในปีนี้ Dyson จะลงทุนอีก 600 ล้านปอนด์ในด้านเทคโนโลยี อุปกรณ์ และห้องทดลอง Dyson มีทีมวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วโลกที่ร่วมพัฒนาแบตตเตอรี่แบบโซลิดสเตท ดิจิทัลมอเตอร์ความเร็วสูง ระบบเซนเซอร์และวิชั่น หุ่นยนต์ เทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่อง และปัญญาประดิษฐ์ ตั้งแต่ประดิษฐ์เครื่องดูดฝุ่นแบบไร้ถุงเครื่องแรกในปี 1993 Dyson ได้สร้างเทคโนโลยีที่สามารถแก้ปัญหาในหลากหลายแขนง ตั้งแต่การดูแลเส้นผม การกรองอากาศ หุ่นยนต์ โคมไฟ และเครื่องเป่ามือ

Dyson กำลังมองหาพนักงาน 2,000 ตำแหน่งในปี 2022 เพื่อมาร่วมในโครงการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ โดย 900 ตำแหน่งจะประจำอยู่ที่สหราชอาณาจักร ในหลากหลายระดับและแผนก ตั้งแต่แผนดอิเล็กทรอนิกส์, อะคูสติก, วิศวกรรมและออกแบบ, แมชชีนเลิร์นนิ่ง, ซอฟต์แวร์, การเชื่อมโยงข้อมูล, หุ่นยนต์, และวัสดุศาสตร์ ซึ่งถือเป็นทีมแนวหน้าในการวิจัยของ Dyson

เกี่ยวกับการพัฒนาหุ่นยนต์ของ Dyson

Dyson ได้เป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีระบบวิชั่นในหุ่นยนต์ เห็นได้จากหุ่นยนต์ดูดฝุ่น Dyson 360 Eye (2016) และรุ่นที่พัฒนาขึ้นอย่าง Dyson Heurist (2020) หุ่นยนต์เหล่านี้เป็นเครื่องดูดฝุ่นชั้นยอด ที่มีระบบการนำทางโดยอาศัยวิชั่นซึ่งคืออัลกอริธึมที่ออกแบบโดย Dyson ร่วมกับการใช้กล้อง 360 องศาเพื่อตรวจดู บันทึก และวิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจแบบผังของบ้านและสามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางอย่างมนุษย์หรือสัตว์เลี้ยงได้อย่างแม่นยำ

ณ ศูนย์ Hullavington Robotics (H85) แห่งใหม่จะเป็นบ้านของวิศวกรด้านหุ่นยนต์กว่า 250 คน ที่จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับทีมของ Dyson ที่สำนักงานใหญ่ในประเทศสิงคโปร์, นักวิจัย ณ ห้องปฏิบัติการ Dyson Robotics Lab ที่อิมพีเรียลคอลเลจ และห้องปฏิบัติการแห่งใหม่ที่กรุงลอนดอนด้วย

ข้อมูลและตัวเลขที่น่าสนใจ

  • ถึงแม้จะเจอความท้าทายทางธุรกิจและการผลิตที่ลดลงจากการระบาดของโรค COVID-19 และการขาดแคลนชิปทั่วโลก Dyson ยังคงมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นในปี 2021 ถึง 5% ที่ 6 พันล้านปอนด์ (รายได้ปี 2020 ที่ 5.7 พันล้านปอนด์) โดยถือเป็นกำไร (EBITDA) เพิ่มขึ้น 16% ที่ 1.5 พันล้านปอนด์ (กำไรปี 2020 ที่ 1.3 พันล้านปอนด์)
  • ตั้งแต่เปิดตัวและวางจำหน่ายเครื่องดูดฝุ่นไร้สาย Dyson ได้ขายเครื่องดูดฝุ่นไร้สายไปแล้วมากกว่า 70 ล้านเครื่องทั่วโลก
  • ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผมของ Dyson อันเป็นที่นิยมได้เฉลิมฉลองยอดขาย 20 ล้านเครื่องในปี 2021 อันประกอบด้วยเครื่องเป่าผม Dyson Supersoni, เครื่องหนีบผม Dyson Corrale, และอุปกรณ์จัดแต่งทรง Dyson Airwrap
  • เมื่อปีที่ผ่านมา Dyson ได้ทำการผลิตดิจิทัลมอเตอร์ชิ้นที่ 100 ล้าน ซึ่งเร็วกว่าเครื่องยนต์ Formula One ถึง 5 เท่า ซึ่งดิจิทัลมอเตอร์เหล่านี้คือหัวใจของผลิตภัณฑ์ของเรา ตั้งแต่เครื่องดูดฝุ่นไร้สาย, เครื่องเป่ามือ Dyson Airblade, เครื่องเป่าผม Dyson Supersonic, และอุปกรณ์จัดแต่งทรง Dyson Airwrap
  • Dyson ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพอากาศเป็นวงกว้างในช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมา ซึ่งทำการวัดด้วยกระเป๋า Dyson Air Quality Backpack ใน 14 เมืองทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย รวมถึงข้อมูลจากเครื่องกรองอากาศ Dyson จากครัวเรือนทั่วโลก ซึ่งผลการสำรวจบ่งชี้ถึงประมาณ PM2.5 ภายในอาคารที่เพิ่มขึ้นเพราะผู้คนต่างกักตัวอยู่ภายในบ้าน
  • Dyson Global Dust Study คือการศึกษา สำรวจ และวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการทำความสะอาดของคน การตระหนักรู้เกี่ยวกับฝุ่น และผลกระทบของฝุ่นที่มีต่อสุขภาพ และเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงอันเนื่องมาจากการระบาดของโรค COVID-19 การศึกษาจึงขยายไปถึงความเกี่ยวข้องของสัตว์เลี้ยงกับฝุ่นภายในบ้าน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้จำนวน 32,282 คนจาก 33 ประเทศทั่วโลก

Leave a Reply