
สถิติมนุษย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก คือ จานน์ แกลมองต์ ผู้หญิงชาวฝรั่งเศสที่เสียชีวิตในปี 1997 ด้วยวัย 122 ปี 164 วัน
worldometer มีข้อมูลการตายของประชากรโลกในปี 2020 รายงานว่า อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 73.2 ปี ผู้หญิงอยู่รอดนานกว่าอยู่ที่ 75.6 ปี ส่วนผู้ชาย 70.8 ปี
สำหรับประเทศไทย อายุเฉลี่ยของคนตายไทย คือ 77.87 ปี ผู้หญิง 81.3 ปี ผู้ชาย 74.16 ปี
มนุษย์ทั่วโลกในยุคปัจจุบัน มีอายุขัยยืนยาวกว่าในอดีตอย่างมาก
ปี 1950 อายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรโลกอยู่ที่ 47 ปี หญิง 48.5 ปี ชาย 45.5 ปี
ระยะเวลาผ่านมา 70 ปี อายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรโลกเพิ่มขึ้นจาก 47 ปี กลายเป็น 73.2 ปี หรือ เพิ่มขึ้น 26.2 ปี
70 ปีที่ผ่านมานี้ มีความก้าวหน้าทางวิทยาการอย่างมาก โรคร้ายหลายอย่างที่เคยคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก สามารถรักษาได้ในปัจจุบัน
แต่ยังมีโรคร้ายอีกหลายโรค เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถเอาชนะมันได้อย่างเบ็ดเสร็จ
ผลการวิจัยหลายครั้งเกี่ยวกับเม็ดเลือดมนุษย์ เผยว่าอายุขัยที่แท้จริงของมนุษย์ สามารถอยู่ได้นานที่สุดระหว่าง 120 – 150 ปี
อายุขัยโดยเฉลี่ยของมนุษย์ในปัจจุบัน จาก 73.2 ปี ปรับเปลี่ยนเป็น 120 ปี เป็นสิ่งที่เป็นไปได้!!!
ในปัจจุบัน มีสตาร์ทอัพหลายแห่งเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ ที่กำลังวิจัยพัฒนาเพื่อการทำให้มนุษย์มีอายุยืนยาวขึ้น และมี Venture Capital หรือ ผู้ลงทุนกับสตาร์ทอัพหลายแห่งพร้อมสนับสนุนการลงทุน
Bank of America วิเคราะห์ว่า Medical Tech หรือเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ที่ช่วยทำให้อายุขัยของผู้คนยืนยาวขึ้นอย่างมีสุขภาพดี จะมีขนาดตลาดใหญ่ถึง 600 พันล้านดอลลาร์ ภายในปี 2025 คิดเป็นเงินไทยมากกว่า 21 ล้านล้านบาท
การมีอายุที่ยืนยาวขึ้นของมนุษย์น่าจะเป็นเรื่องดี แต่ก็มีผลกระทบหลายอย่างตามมาด้วย เช่น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประชากรล้นโลก อาหารไม่เพียงพอเลี้ยงผู้คน ฯลฯ
และสิ่งที่เป็นข้อถกเถียงกันรุนแรงที่สุด คือ ปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรม
อวัยวะที่ได้จากการโคลนนิ่ง หรือสร้างจากเซลล์ของผู้ต้องการอวัยวะ การใช้อวัยวะจากสัตว์ ฯลฯ เป็นสิ่งที่สมควรทำหรือไม่?
มีสตาร์ทอัพหลายแห่ง กำลังเล่นบทพระเจ้า ตัดสินว่าสิ่งมีชีวิตไหนควรตาย หรือเสียสละเพื่อให้มนุษย์มีชีวิตยืนยาวขึ้น!!!
https://www.cnbc.com/2019/05/08/techs-next-big-disruption-could-be-delaying-death.html