
วัยทองผู้หญิง คือ ภาวะที่ผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน โดยเฉลี่ยของวัยทองผู้หญิงไทยอยู่ที่อายุประมาณ 48 – 52 ปี
ผู้ชายก็มีวัยทองเหมือนกัน แต่การเปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจนเหมือนผู้หญิง
ในทางการแพทย์ เรียกผู้ชายวัยทองว่า Andropause หรือ แอนโดรพอส คือ สภาวะที่ฮอร์โมนเพศชาย หรือ Testosterone ลดน้อยลง
ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนของผู้ชายจะลดลงประมาณ 1% – 2% ในแต่ละปี โดยเริ่มตั้งแต่มีอายุ 30 กลางๆ เป็นต้นไป
ผู้ชายอายุ 40+ อาจมีเทสโทสเทอโรนต่ำกว่า 20 ปีก่อนถึง 40%
ผู้ชายอายุ 50+ ระดับเทสโทสเทอโรนลดลงได้ถึง 50% เมื่อเทียบกับตอนที่อยู่ในระดับสูงสุด
ในแต่ละสิบปีที่ฮอร์โมนเพศชายลดลง ส่งผลให้มวลกล้ามเนื้อลดลง 5% – 8%
สภาพร่างกายของผู้ชายที่แสดงอาการแก่ตัว คือ
-ไขมันหน้าท้องมากขึ้น
-รักษาสภาพกล้ามเนื้อให้คงอยู่ได้ยากขึ้น
-ความดันโลหิตสูงขึ้น
-ความหนาแน่นของกระดูกลดลง
-คุณภาพการนอนหลับแย่ลง
-คอเลสเตอรอลสูงขึ้น
-ความต้องการทางเพศลดลง
-ระดับพลังงานลดลง
-การรับรู้ช้าลง
ทางการแพทย์ถือว่า โดยทั่วไปแล้ว ผู้ชายทำงานได้ดีที่สุดเมื่อมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนระหว่าง 600 – 900 และอาจลดลงจนเหลือต่ำกว่า 300 เมื่อแก่ตัว
ในการศึกษาทางระบาดวิทยาปี 2019 ซึ่งเป็นการศึกษาระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนผู้ชาย 1,222 คน อายุระหว่าง 40 – 70 ปี พบว่า 55% มีระดับฮอร์โมนต่ำ
มีผลการวิจัยพบว่า ผู้ชายยุคนี้มีระดับฮอร์โมนต่ำกว่าคนในรุ่นพ่ออย่างน่าตกใจ!!!
ผู้ชายอายุ 30 ปี ในปัจจุบัน อาจมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนใกล้เคียงกับที่พ่อของเขามีในช่วงที่พ่ออายุ 50 – 60 ปี
สาเหตุที่ทำให้ผู้ชายยุคนี้มีระดับฮอร์โมนต่ำกว่าคนยุคก่อนอย่างชัดเจน คือ มลพิษจากพลาสติก เอสโตรเจนที่เจอปนในแหล่งน้ำและอาหาร
อายุที่มากขึ้น เป็นสาเหตุตามธรรมชาติที่ทำให้ระดับเทสโทสเทอโรนของผู้ชายลดลง แต่ยังมีปัจจัยการดำเนินชีวิตหลายอย่างที่ไปกดทับระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน เช่น ความเครียดเรื้อรัง โรคอ้วน อาการนอนไม่หลับ ยาเสพติด ยากล่อมประสาท เหล้า
การใช้ยาและอาหารเสริมตามการแนะนำของแพทย์ ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนของผู้ชายได้ แต่อาจมีผลข้างเคียงทำให้การสร้างฮอร์โมนตามธรรมชาติลดลง
แต่เพียงแค่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ก็ส่งผลดีต่อระดับฮอร์โมนได้ ใช้เวลา 3 – 6 เดือน ระดับเทสโทสเทอโรนสามารถเพิ่มขึ้นได้ 100 – 200 ng/dl
สิ่งที่ต้องทำ คือ ลดไขมันในร่างกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จัดการกับความเครียดให้ได้ หลีกเลี่ยงยาเสพติดและแอลกอฮอล์
(เนื้อหาอ้างอิงงานวิจัย และบทความจากแพทย์)
https://www.diamandis.com/blog/how-to-combat-low-testosterone