กูเกิลโอนอ่อนตามรัฐบาลจีน ยอมให้เซ็นเซอร์ ออกเวอร์ชั่นเครื่องมือค้นหาใหม่เพื่อตลาดจีน แบล็คลิส สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย ศาสนา จะย้อนกลับเข้าจีนปี2019

Google เคยอยู่ในตลาดจีนตั้งแต่ปี 2000 มีบริการเครื่องมือค้นหาเวอร์ชั่นภาษาจีน

พอถึงปี 2010 ก็โดนรัฐบาลจีนในปักกิ่งเข้ามาเซ็นเซอร์การค้นหาและบริการ Gmail ซึ่งในที่สุดมีการบล็อกกูเกิล ทำให้กูเกิลต้องถอยออกจากประเทศจีน

ในปี 2010 กูเกิลคงไม่รู้สึกอะไรมากนักที่ต้องออกจากประเทศจีน เพราะจีนในวันนั้นแตกต่างกับวันนี้มาก การปรับเปลี่ยนโครงสร้างกูเกิลให้สอดคล้องกับความเข้มงวดของรัฐบาลจีนในปักกิ่ง อาจไม่คุ้มค่าการลงทุน ตอนนั้นโอกาสทางธุรกิจในประเทศจีนก็ยังมีไม่มากนัก

แต่ในปัจจุบัน จีนมีประชากร 1,400 ล้านคน มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 772 ล้านคน เป็นสังคมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นแหล่งทำเงินมหาศาลของบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ท้องถิ่นในจีน เช่น เทนเซ็นต์ อาลีบาบา ไบดู หัวเว่ย ดีดี เสียวมี่ ฯลฯ

กูเกิลต้องการมีส่วนแบ่งรายได้ในตลาดจีน จึงตัดสินใจกลับเข้าไปทำธุรกิจในจีนอย่างจริงจังอีกครั้ง กำลังเตรียมแผนออกเครื่องมือค้นหาเวอร์ชั่นภาษาจีนที่ยอมให้มีการเซนเซอร์ตามกฎที่เข้มงวดของรัฐบาลจีน

เว็บไซต์ที่จะถูกแบล็คลีส ห้ามโผล่ขึ้นมาให้คนจีนเห็นเมื่อมีการใช้เครื่องมือค้นหากูเกิล คือ สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย ศาสนา และประเด็นที่เป็นเรื่องอ่อนไหวต่อรัฐบาลจีน

มีรายงานว่า กูเกิล ส่งเรื่องเครื่องมือค้นหาใหม่ไปให้ผู้มีอำนาจในจีนพิจารณาแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการรออนุมัติ มีชื่อโค้ดสำหรับโครงการนี้ว่า “Dragonfly” และคงแนะนำสู่ตลาดจีนได้ภายใน 6-8 เดือน หรือช่วงต้นปี 2019

การย้อนกลับเข้าไปในจีนอีกครั้งของ Google ในคราวนี้ คงมีงานยากๆรออยู่อีกมาก เพราะต้องเจอกับคู่แข่งที่แข็งแกร่งอย่าง Baidu ซึ่งเป็นเจ้าตลาดเครื่องมือค้นหาในจีนที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากถึงเกือบ 70%

สงครามการค้าที่อเมริกาหาว่าจีนเอาเปรียบอเมริกา อาจเป็นผลทำให้รัฐบาลจีนยอมเปิดกว้างให้กับธุรกิจอเมริกาเข้ามาค้าขายในจีนง่ายขึ้น

แต่บริษัทเทคฯจีนได้วางรากฐานในท้องถิ่นของตัวเองไว้แข็งแรงมากและมีประสิทธิภาพในการทำงานไม่เป็นรองต่างชาติ

แม้จะมีการแข่งขันกันอย่างเสรีและเป็นธรรม ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่บริษัทเทคฯยักษ์ใหญ่จากอเมริกาจะสามารถเอาชนะในตลาดจีนได้!!!

https://www.scmp.com/tech/china-tech/article/2157850/google-reported-launch-censored-search-engine-china-marking-shift

 

Leave a Reply