GHGSat เป็นสตาร์ทอัพที่วางภารกิจของตัวเองเป็นแหล่งอ้างอิงระดับโลกสำหรับการสำรวจระยะไกลแบบรีโมท เพื่อตรวจจับ ก๊าซเรือนกระจก คุณภาพอากาศจากก๊าซ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งต่างๆในโลก
เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2016 GHGSat ได้ปล่อยดาวเทียมของตัวเองเพื่อตรวจวัดก๊าซเรือนกระจกจากโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ตามพื้นที่ต่างๆในโลก มีภาพความละเอียดสูงให้ดู มีข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและมีต้นทุนต่ำ พื้นที่ไหนมีปัญหา จะแสดงภาพให้เห็นเป็นจุดสีส้ม
เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม สามารถตรวจสอบมลพิษที่ตัวเองปล่อยออกไปเกือบจะเป็นแบบเรียลไทม์ ข้อมูลที่ได้รับจะเป็นประโยชน์สำหรับ การตรวจวัด และปรับปรุงตัวเอง
ภายในปี 2020 GHGSat จะเสนอภาพความละเอียดสูงเป็นแผนที่ของก๊าซมีเทนที่อยู่ในบรรยากาศตามพื้นที่ต่างๆทั่วโลก
ก๊าซมีเทน เป็นก๊าซเรือนกระจก 1 ใน 6 ชนิดที่ก่อปัญหาโลกร้อน มีช่วงอายุอยู่ในบรรยากาศประมาณ 10 ปี มีศักยภาพทำให้โลกร้อนเป็น 25 เท่าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
วันนี้ GHGSat มีดาวเทียมหนึ่งดวงบนวงโคจรโลก อีก 2-3 เดือนจากนี้จะส่งดาวเทียมขึ้นไปอีก 2 ดวง และยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆทั้งภาคพื้นดินและอวกาศเพื่อเอาข้อมูลทุกอย่างที่มีมาใช้ร่วมกัน
GHGSat มีฐานอยู่ในมอนทรีออล แคนาดา คอยตรวจวัดการรั่วไหลการดำเนินงานเกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซ ที่ทำให้เกิดก๊าซมีเทน แล้วส่งข้อมูลเตือนให้เจ้าของโรงงานได้รับรู้
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดก๊าซมีเทน มาจากกิจกรรมของมนุษย์เกี่ยวกับเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่มีก๊าซเรือนกระจกบางส่วนสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งหลีกเลี่ยงได้ยาก
ก๊าซมีเทนสร้างก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษปี 1980 ถึงปัจจุบัน มีก๊าซมีเทนในบรรยากาศโลกเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว และเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้โลกร้อนขึ้นในยุคนี้
ประเทศไทยมีโรงงานที่มีส่วนสร้างก๊าซเรือนกระจกให้กับโลกอยู่ไม่น้อย ควรใช้บริการข้อมูลของ GHGSat ด้วย หน่วยงานของรัฐน่าจะติดตามตรวจสอบข้อมูลทุกพื้นอย่างละเอียด
เจอใครปล่อยมลพิษเกินกำหนด ควรรีบเข้าไปเล่นงานทันที
กลัวแต่ว่า เวลาเจอตอของพรรคพวกเดียวกัน จะทำเฉยปล่อยผ่าน ปล่อยให้ประชาชนไทยและชาวโลก รับกรรมไปแทน…..