ไทย พร้อมต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ BEV ไร้ปัญหาไฟฟ้าไม่พอใช้ เขียวได้จริงๆ ปรับเปลี่ยนรถใช้น้ำมันเป็นรถไฟฟ้าได้

คนด้านขวาที่ให้สัมภาษณ์ธุรกิจ 4.0 คือ คุณแจ็คกี้ จาง ประธานบริหาร บมจ เดลต้า ประเทศไทย

เดลต้า เป็นผู้ผลิตชั้นนำของโลกด้านโซลูชั่นส์การจัดการพลังงานและความร้อน มีโรงงานและหน่วยวิจัยพัฒนาธุรกิจอยู่ในประเทศไทย ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น ระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม ระบบแสดงผลครบวงจร ระบบเครือข่าย ระบบและอุปกรณ์ชาร์จไฟยานยนต์ไฟฟ้า เป็นบริษัทที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมการใช้พลังงานสะอาด

วันที่ 9 ตุลาคม 2563 มีงานใหญ่ประจำปี Delta Future Industry Summit และได้เชิญผู้คนในแวดวงพลังงานของไทยหลายคน มาร่วมเสวนา ชี้ให้เห็นเทรนด์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นประเทศไทย

ผู้ร่วมเสนอความคิดเห็นเรื่องพลังงานสะอาด และยานยนต์ไฟฟ้าในงาน นี้ เช่น

-คุณกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

-คุณเลิศชาย แก้ววิเชียร ผู้ช่วยผู้ว่าการธุรกิจ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

-คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย

-คุณกิตติศักดิ์ เงินงอกงาม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน บริษัท เดลต้า อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

เนื้อหาที่นำเสนอในคราวนี้ เรียบเรียงจากข้อมูลที่ ธุรกิจ 4.0 ได้เข้าร่วมงานสัมมนา

การเก็บตัวเลขรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย มีการรวมรถไฮบริดที่ไม่สามารถเสียบปลั๊กเติมไฟ จัดเป็นยานยนต์ไฟฟ้าด้วย แต่การเก็บข้อมูลในประเทศอื่น ไม่ได้รวมรถกลุ่มนี้เป็นยานยนต์ไฟฟ้า

ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าประเทศไทย มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี

ปี 2019 ทั้งปี มียอดจดทะเบียนรวม 153,184 คัน แต่ในปี 2020 นับเฉพาะ 6 เดือน คือ มค. – มิ.ย. มียอดขายมากถึง 167,767 คัน หากนับเฉพาะ BEV ซึ่งเป็นยานยนต์ไฟฟ้า 100% มียอดรวม 4,301 คัน ซึ่งรวมทั้งมอเตอร์ไซค์และรถยนต์

หากนับเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้า BEV มีตัวเลขประมาณการว่าจะขายได้ในปี 2020 รวม 4,000 คัน

ในงานมอเตอร์โชว์ครั้งล่าสุดในประเทศไทย มีการนำ BEV มาแสดงมากกว่าสิบรุ่น ราคาขายตั้งแต่ระดับ 5-6 แสนบาท จนถึง 6-7 ล้านบาท

ในหลายประเทศ ได้กำหนดเส้นตายไม่ให้มีการขายหรือจดทะเบียนรถใหม่ที่ใช้น้ำมันเอาไว้แล้ว

EV Conversion เป็นกระแสใหม่ที่เกิดขึ้นในวันนี้ ีเจ้าของรถใช้น้ำมันจากทั่วโลกที่มีอยู่นับพันล้านคัน หลายคนกำลังคิดเปลี่ยนรถของตัวเองเป็นยานยนต์ไฟฟ้า หรือ BEV เจ้าของรถจำนวนมาก นำอุปกรณ์ของ เทสล่า ไปปรับแต่งรถใช้น้ำมันคันเก่าของตัวเอง

ประเทศไทย เริ่มมีธุรกิจปรับแต่งรถเก่าเป็น BEV เพิ่มขึ้น

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มีโครงการร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เปิดอบรม “การดัดแปลงรถยนต์สันดาปภายในเป็นรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง”

โดยภาพรวมแล้ว รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ยังมีราคาแพงมาก ค่าประกันภัยสูง สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย กำลังผลักดันภาครัฐให้ลดค่าประกัน มีการเรียกร้องให้รัฐฯเรียกเก็บภาษีให้ต่ำลง

บีโอไอไทย ให้การสนับสนุนผู้ขอสร้างโรงงานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

เราอาจได้เห็นหน่วยงานของภาครัฐหลายแห่ง เริ่มใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เป็นหนทางที่จะกระตุ้นให้ตลาดเติบโตรวดเร็วขึ้น

หากประเทศไทยมีผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น หมายถึงความต้องการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น และมีความกังวลกันมากว่า จะมีไฟฟ้าใช้ไม่เพียงพอ

ประเด็นการจ่ายไฟฟ้าจากโครงข่ายไฟฟ้าไม่พอ เพราะ BEV ได้รับการยืนยันจากตัวแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่า ไม่มีปัญหาแน่นอน

การไฟฟ้าของรัฐทุกหน่วยงาน เตรียมพร้อมสำหรับการรับมือไว้ล่วงหน้าแล้ว มีการวิจัยและพัฒนาเรื่องการชาร์จไฟที่บ้าน หรือสถานีชาร์จไฟไว้ล่วงหน้านานแล้ว

Nissan Leaf คันแรกที่ขายในประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นผู้ซื้อ เพื่อนำมาทดสอบระบบการจ่ายไฟฟ้ายานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

การไฟฟ้ามีสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันอยู่ 11 สถานี ภายในสิ้นปี 2020 จะสร้างเพิ่มขึ้นอีก 20 สถานี ภายในเดือนมีนาคม 2021 มีเพิ่มอีก 42 สถานี

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะมีสถานีชาร์จอยู่ทั่วประเทศไทยในปี 2021 รวม 73 แห่ง มีหัวชาร์จที่รองรับทุกระบบ

กฟภ เปิดเผยว่า ภายในปี 2022 จะมีสถานีไฟฟ้า 190 สถานี ถือว่าเป็นโครงการนำร่องเพื่อสร้างความมั่นใจกับผู้ขายและผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศไทย

แต่หน่วยงานที่รองรับเรื่องสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า มีอีกหลายหน่วยงาน มีทั้งของภาครัฐและเอกชน

สถานะในปัจจุบัน ทั่วประเทศมีหัวจ่ายชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า 1,800 หัวจ่าย กระจายอยู่ใน 150 โลเกชั่นทั่วประเทศไทย และมีผู้สนใจลงทุนสร้างเพิ่มอย่างต่อเนื่อง

ปตท เป็นหน่วยงานหนึ่งที่สนใจสร้างสถานีชาร์จ เราอาจได้เห็นปั๊มน้ำมันจำนวนมากในประเทศไทย มีบริการชาร์จไฟให้กับยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

โครงสร้างพื้นฐาน การสร้างสถานีชาร์จไฟในประเทศไทย มีความพร้อมแล้ว

อย่างกรณีของเดลต้า มีเทคโนโลยีที่รองรับระบบการชาร์จไฟได้ทุกระบบ สามารถสร้างสถานีชาร์จไฟที่มีหลังคาโซลาร์ เอาพลังงานแสงอาทิตย์มาชาร์จไฟโดยตรง หรือเอามาเก็บไว้ในระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ ช่วยทำให้สามารถป้อนไฟฟ้าให้ยานยนต์ไฟฟ้าได้ตลอดเวลา และยังมีเทคโนโลยีที่สามารถรับไฟจากรถยนต์ ย้อนกลับมาเก็บหรือใช้สำหรับงานอื่นได้

โดยภาพรวมแล้ว โครงสร้างพื้นฐานเรื่องสถานีชาร์จไม่ใช่ปัญหาที่ต้องกังวล สามารถขยายตัวรองรับได้แน่นอน

แต่แหล่งชาร์จไฟรถที่สำคัญที่สุด ยังเป็นการชาร์จไฟตามบ้าน หากมีบ้านชาร์จไฟพร้อมๆกันในเวลากลางคืนจำนวนมาก อาจทำให้หม้อแปลงไฟฟ้าในพื้นที่ระเบิด ประเด็นนี้เป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ เทคโนโลยีการชาร์จไฟสามารถทำการเชื่อมต่อกับระบบบอกให้รู้ว่า ความต้องการใช้ไฟในแต่ละพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา มีมากเกินกำลังหรือไม่ และสามารถปรับแผนรองรับได้ล่วงหน้า

สถานีชาร์จไฟหรือบ้านเรือน สามารถผลิตไฟฟ้าของตัวเอง มีโซลาร์รูฟและระบบกักเก็บพลังงานเป็นพลังงานของตัวเอง อาจไม่จำเป็นต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากโครงข่ายการไฟฟ้า

กฟภ ให้ความเห็นว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ มีโรงงานเล็กใหญ่เกิดขึ้นและต้องการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นตลอดเวลา แต่การไฟฟ้าสามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างไม่มีปัญหา

หากราคายานยนต์ไฟฟ้ายังสูงระดับ 2 ล้าน คงมีผู้ใช้น้อย การไฟฟ้ารองรับความต้องการได้สบายมาก ถ้าลงมาเป็น 1.2 ล้านก็ต้องตื่นตัวมากขึ้น

ถ้าวันไหนราคาลดลงมาอยู่ในระดับ 5-6 แสนบาท และมีประสิทธิภาพไม่ต่างจากรถใช้น้ำมัน คงมีคนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด แต่การไฟฟ้าก็ยืนยันว่า สามารถรองรับความต้องการได้อย่างแน่นอน

ในงานนี้มีการพูดถึงรถเทสล่าที่ภายใน 3 ปีข้างหน้า จะผลิตออกขายในราคาเจ็ดแสนกว่าบาท มันคงทำให้ตลาดบูมขึ้นแบบก้าวกระโดด เป็นแรงผลักดันสำหรับมาตรฐานและราคาของผู้ผลิตรถยนต์ทุกค่าย ต้องพยายามทำให้ราคาใกล้เคียงหรือต่ำกว่ารถของเทสล่า ซึ่งเป็นยานยนต์ไฟฟ้า 100%

เราได้สอบถามความเห็นจาก คุณแจ็กกี้ จาง ถึงข้อครหาที่คนจำนวนมากที่ต่อต้านการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าว่า “เขียวไม่จริง” ใช้รถไฟฟ้าแต่ชาร์จไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิล นายใหญ่เดลต้าให้ความเห็นไว้น่าสนใจว่า…

“ความเสถียรของพลังงานเป็นเรื่องสำคัญ ไฟฟ้าจากสถานีชาร์จไฟหรือที่บ้าน ใช้พลังงานจากโซลาร์และระบบกักเก็บพลังงานได้”

“ประเทศไทยได้ร่วมเซ็นต์สัญญาข้อตกลงที่กรุงปารีสเรื่อง Zero Emission ไฟฟ้าจากโครงข่ายไฟฟ้าไทย มีแนวโน้มจะหันไปใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

https://www.deltathailand.com/th/

Leave a Reply