ปลั๊กอินไฮบริด ยังสร้างมลภาวะโลก เหมือนกับ ‘หมาป่าในคราบลูกแกะ’ ยังคงใช้น้ำมัน จะถูกแบนในอนาคต

Plug-in Hybrid หรือที่มักจะเรียกแบบย่อว่า PHEV แม้จะใช้น้ำมันขับเคลื่อนรถได้ แต่ยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า เพราะมีช่องเสียบปลั๊กเติมพลังงานไฟฟ้าได้

รถปลั๊กอินไฮบริดมีมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ขับเคลื่อนรถยนต์ แต่สามารถเลือกใช้พลังงานน้ำมันขับเคลื่อนรถเหมือนรถเครื่องยนต์สันดาปภายในทั่วไป

ในปัจจุบันรถใหม่ที่ขายกันอยู่ทั่วโลกประมาณ 3% เป็น PHEV

นักวิเคราะห์ทางด้านยานยนต์ และสิ่งแวดล้อม รวมถึง Greenpeace มีข้อสรุปว่า ข้อมูลที่ทางผู้ผลิตรถยนต์ PHEV แจ้งต่อสาธารณะชน ไม่ตรงกับความจริง

การทดสอบในห้องแลปรายงานว่า รถปลั๊กอินไฮบริดปล่อย CO2 เฉลี่ย 44 กรัม ต่อกิโลเมตร แต่ในความเป็นจริงปล่อย CO2 มากถึง 120 กรัม ต่อกิโลเมตร

มีการเปรียบเปรยว่า PHEV ก็ไม่ต่างจาก ‘หมาป่าในคราบลูกแกะ’

ในหลายๆประเทศ มีการจัดรถพันธุ์ทางนี้ว่าเป็นยายนต์ไฟฟ้าที่ช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมลดความเสียหายลงได้ และได้รับการยกเว้นด้านภาษีหรือสิทธิพิเศษหลายอย่างเพื่อกระตุ้นให้มีการใช้มากขึ้น เพราะยังมีคนจำนวนมากที่ไม่มั่นใจที่จะเปลี่ยนไปใช้ BEV หรือรถยนต์ไฟฟ้า 100%

คนที่อยากมีส่วนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรืออยากได้สิทธิพิเศษ แต่กังวลเรื่องหาที่ชาร์จไฟ ลงเอยด้วยการตัดสินใจซื้อรถปลั๊กอินไฮบริด แต่พวกเขามักจะมีพฤติกรรม เติมน้ำมันมากกว่าเติมไฟฟ้า

ใครที่คิดจะซื้อ PHEV ขอให้คิดหลายๆรอบ ถ้าหวังจะใช้ในระยะยาว อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ฉลาด มันเป็นรถที่จะถูกแบนห้ามใช้ในอนาคต

ในสหราชอาณาจักร ตามแผนเดิมมีเป้าหมายแบนรถใช้น้ำมันและรถไฮบริดทั้งหมดภายในปี 2035 แต่วันนี้กำลังมีแผนการใหม่ที่จะขยับการแบนให้เร็วขึ้นเป็นปี 2030

รถไฮบริดที่ไม่มีช่องเสียบปลั๊กไฟ แต่ใช้น้ำมันปั่นไฟให้มอเตอร์ทำให้รถวิ่งได้ จะถูกแบนไปพร้อมกับรถ ICE หรือรถใช้น้ำมัน

มีการคาดหมายว่า สหราชอาณาจักร อาจยอมให้ PHEV ขายได้จนถึงปี 2035 แต่หลังจากนั้นก็จะถูกแบนเช่นกัน

หันมาประเทศไทย ที่มีความแตกต่างเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร แม้แต่รถไฮบริดที่ไม่ต้องชาร์จไฟก็ได้สิทธิพิเศษหลายอย่าง จัดไว้เป็นยานยนต์ไฟฟ้าด้วย

มีผู้คนวิเคราะห์ว่าประเทศไทย จะเป็นปราการด่านสุดท้ายของรถใช้น้ำมันของโลก ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่คาดการณ์ไม่เกินเลยความจริง

รถยนต์ใช้น้ำมัน ยังสามารถปล่อยมลพิษในประเทศไทยไปได้อีกนาน………

https://www.bbc.com/news/science-environment-54170207

Leave a Reply