ยูโอบีคาด GDP ไทยปี 2566 โต 3.7% รับอานิสงส์ท่องเที่ยวจีนฟื้น เงินบาทแข็งและส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เผยรายงานวิจัยล่าสุดวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2566 จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามามากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนผลักดันให้เกิดการบริโภคและการใช้จ่ายภายในประเทศที่สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี (GDP) สามารถเติบโตถึงร้อยละ 3.7 ในปีนี้[1]

นายเอ็นริโก้ ทานูวิดฮาฮา นักเศรษฐศาสตร์ Global Economic and Market Research ของธนาคารยูโอบี เผยว่า “ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประเทศไทยเริ่มต้อนรับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนที่กลับเข้ามาอีกครั้งหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งถือว่าเร็วกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ และส่งผลดีให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีสัญญาณที่ดีจากภาคธุรกิจบริการที่เริ่มฟื้นตัว รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภคและการใช้จ่ายในประเทศ

ดังนั้นสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปีนี้จะเริ่มกลับมาฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในแต่ละไตรมาส โดยยูโอบีประเมินว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะสามารถขยายตัวได้ถึงร้อยละ 3.7 และอัตราเงินเฟ้อจะเฉลี่ยอยู่ร้อยละ 2.7 ซึ่งเป็นผลจากรายได้ท่องเที่ยวที่เป็นแรงสนันสนุนหลักทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้มีความสดใส

นอกจากนี้ ผลพวงจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่จะเดินทางกลับมาเข้าอีกครั้งหลังจากนโยบายการเปิดพรมแดน จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ดีในช่วงครึ่งปีแรก ค่าเงินบาทอาจได้รับผลกระทบจากความท้ายทายของเศรษฐกิจโลกในระดับมหาภาค ทำให้เคลื่อนไหวอ่อนตัวลงไปอยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งปีแรก ก่อนจะกลับมาแข็งแกร่งและไต่ระดับไปถึง 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งปีหลัง

โดยรวมภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะอยู่ในเกณฑ์ที่แข็งแกร่งจากการฟื้นตัวของภาคธุรกิจต่างๆโดยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจหลักในประเทศ”

สถานการณ์เศรษฐกิจส่งสัญญาณการฟื้นตัว

สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณฟิ้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีที่แล้ว ทำให้ในปีนี้สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยมีโอกาสจะเติบโตได้ถึงร้อยละ 3-4 เห็นได้จากจีดีพีของปี 2565 กลับมาเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4.5 จากมูลค่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การลงทุน และรายได้ท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้มูลค่าการอุบโภคบริโภคระดับครัวเรือนมีอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี และค่าใช้จ่ายในภาคบริการปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 15.8 จากการใช้จ่ายที่สูงขึ้นในภาคธุรกิจร้านอาหาร ท่องเที่ยว สันทนาการ และวัฒนธรรม ดังนั้นยูโอบีจึงเชื่อมั่นว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ในปีนี้ จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะช่วยเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศควบคู่ไปกับภาคส่งออกที่แข็งแกร่งขึ้น

อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่ขาลง

ตั้งแต่ปี 2565 อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยได้ขึ้นไปแตะที่จุดสูงสุดก่อนจะทยอยปรับระดับลงในช่วงปลายปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากราคาพลังงานที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการฟื้นตัวของระบบห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และ กระจายสินค้าของรายการอาหารบางชนิดที่ช่วยลดแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อต่ำลง สำหรับปี 2566 ยูโอบีประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยจะลอยตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.7 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (headline inflation) จะขึ้นไปแตะที่ร้อยละ 3.9 ในช่วงครึ่งปีแรก และจะคงค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ1.5 ในช่วงครึ่งปีหลัง จากความต้องการบริโภคที่ลดลงเพราะระบบห่วงโซ่อุปทานโลกปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น ประกอบกับสถานการณ์พลังงานและราคาสินค้าทั่วโลกอยู่ในเกณฑ์ที่ทรงตัว (moderate) และ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) จะปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อนี้สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ประเมินอยู่ที่ร้อยละ 2-3

ค่าเงินบาท

ทีมนักวิเคราะห์ของยูโอบีประเมินว่าในปีนี้ ค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคเอเชีย และกับดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจัยต่างๆเช่น การใช้นโยบายการเงินอย่างผ่อนปรนและยืดหยุ่นของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อเทียบกับธนาคารกลางอื่นๆ ในภูมิภาค รวมถึงระดับอัตราดอกเบี้ยทั่วภูมิภาคยังอยู่ในระดับต่ำ และความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลกในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี อานิสงส์จากการฟื้นตัวของภาคธุรกิจท่องเที่ยว และการเปิดพรมแดนของจีนจะช่วยบรรเทาความท้าทายเหล่านี้ และส่งผลให้ค่าเงินบาทยังสามารถรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคนี้ อีกทั้งยูโอบีประเมินว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยจะกลับมาเกินดุลอีกครั้งที่ร้อยละ 2.8 ของจีดีพี ซึ่งจะเป็นแรงสนับสนุนเพิ่มเติมทำให้ค่าเงินบาทซึ่งอ่อนตัวและเคลื่อนไหวอยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงครึ่งปีแรก จะกลับมาแข็งค่าอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสสุดท้าย

# # #

เกี่ยวกับธนาคารยูโอบี

ธนาคาร ยูโอบี เป็นธนาคารชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย มีสำนักงานใหญ่ที่ประเทศสิงคโปร์และมีการดำเนินธุรกิจในจีน อินโดนิเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม อีกทั้งยังมีเครือข่ายระดับโลกที่ประกอบด้วยสำนักงานประมาณ 500 แห่ง ใน 19 ประเทศและเขตการปกครอง ทั้งในเอเชียแปซิฟิก ยุโรปตะวันตก และอเมริกาเหนือ นับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ 2478 ธนาคารยูโอบีได้พัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่องผ่านการควบรวมกิจการที่สำคัญ  ปัจจุบันธนาคารยูโอบีได้รับการจัดลำดับให้เป็นธนาคารที่มีความแข็งแกร่งในระดับสากจากบริษัทจัดลำดับความน่าเชื่อถือระดับโลก ได้แก่ ความน่าเชื่อถือระดับ Aa1 โดย มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส และ ความน่าเชื่อถืออยู่ในลำดับ AAA (tha) จาก ฟิทช์ เรทติงส์ และเอสแอนด์พี โกลบอล เรทติงส์  

ตลอดระยะเวลาเกือบ 9 ทศววรษ  ธนาคารยูโอบีดำเนินธุรกิจโดยยึดความต้องการของลูกค้าเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ธุรกิจในระยะยาวโดยการปรับกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคผ่านพลังงานแห่งความสร้างสรรค์และความมุ่งมั่นในการทำสิ่งที่ถูกต้องแก่ลูกค้า ยูโอบีพร้อมที่จะพัฒนาอนาคตของภูมิภาคอาเซียนในเติบโต ทั้งประชากรและธุรกิจให้มีความเชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงในภูมิภาค

เรายังมีส่วนในการเชื่อมต่อโอกาสทางธุรกิจภายในภูมิภาคนี้ ผ่านเครือข่ายทางการเงินที่แข็งแกร่ง เรามีการจัดทำฐานข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเชิงลึกสำหรับพัฒนาและนำเสนอประสบการณ์ทางการเงินส่วนบุคคล และบริการทางการเงินที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลง ยูโอบีมีความมุ่งมันที่จะสร้างความยั่งยื่นในการดำเนินธุรกิจให้แก่ลูกค้า ผ่านกิจกรรมการมีส่วนร่วมทางสังคม สร้างผลกระทบที่ดีต่อสื่งแวดล้อม พร้อมไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ธนาคารเชื่อมั่นในการเป็นผู้บริการทางการเงินที่มีความรับผิดชอบ พร้อมทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผ่านการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมด้านศิลปะ เยาวชน และ การศึกษา

เกี่ยวกับธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) เป็นธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีเครือข่ายทั่วประเทศ 149 สาขาและเครื่องเบิกเงินสดอัตโนมัติ 352 เครื่อง (ข้อมูลถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564)  และมี           ยูโอบี สำนักงานใหญ่ที่ประเทศสิงค์โปร์ ถือหุ้น 99.66 เปอร์เซนต์  ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในลำดับ AAA (tha) โดยฟิทช์ เรทติงส์ 

Posted in PR

Leave a Reply