วงการแพทย์พัฒนาเทคนิคใหม่เพื่อช่วยรักษาแผลโดยการฟังเสียงผ่านทาง Smart Sensors
สมาร์ตเซนเซอร์ที่วางไว้บนผิวหน้าของเนื้อเยื่อบริเวณใกล้ๆแผล แล้วเอาผ้าพันแผลปิดทับลงไป เซนเซอร์จะทำหน้าที่ตรวจสอบให้รู้ว่าแผลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ถ้าสามารถตรวจได้ตลอดเวลา ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดแผลออกมาดูบ่อยๆเพื่อดูว่ามันดีขึ้นหรือแย่ลง
มีแผลที่ต้องทำการรักษาจากสาเหตุที่แตกต่างกันหลายชนิด เช่น แผลอุบัติเหตุ แผลผ่าตัด แผลกดทับ มันมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน และบางทีอาจกลายเป็นแผลเรื้อรัง
แม้แต่บาดแผลเล็กๆที่บอบบางของคนสูงอายุ ก็สามารถติดเชื้อได้ และในบางกรณีอาจเลวร้ายถึงขั้นต้องตัดขาออกไป
การฟังเสียงเนื้อเยื่อของร่างกายในระดับจุลภาค อาจช่วยทำให้เกิดวิธีการรักษาแบบใหม่ แต่ต้องใช้เซนเซอร์ขนาดจิ๋วในระดับเดียวกัน
เซนเซอร์ที่หมอนำมาทดลองใช้ มีขนาดไม่ใหญ่กว่าเม็ดน้ำตาล สามารถรับและส่งเสียงที่เกิดขึ้นบริเวณแผลได้
คลื่นเสียงที่ส่งผ่านไปยังเนื้อเยื่อบ่งชี้ให้รู้ว่าเสียงถูกส่งเร็วหรือช้าแค่ไหน ซึ่งหมายถึงความแข็งแรงที่แตกต่างกันของเนื้อเยื่อที่อยู่ข้างใต้ผ้าพันแผล
โครงการนี้มีระยะเวลาการศึกษาสองปี ได้รับการสนับสนุนจากสภาวิจัยวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์กายภาพของอังกฤษ ทีมวิจัยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันบำบัดบาดแผลที่มหาวิทยาลัยเอดินเบอระ
การใช้เซนเซอร์เข้าไปดูการเปลี่ยนแปลงของแผล ช่วยทำให้เข้าใจแนวทางการเยียวยาอย่างละเอียดจากสภาพที่เกิดขึ้นภายใน ได้เห็นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันระหว่างการรักษา สะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงกล
ข้อมูลที่ได้รับทั้งหมดจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มศักยภาพสำหรับการบำบัดรักษาแบบใหม่ๆ
และในอนาคต อาจใช้ได้มากกว่าการรักษาแผลภายนอก
วันหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์อาจเอาเซนเซอร์เข้าไปดักฟังภายในร่างกายของผู้ป่วย มันอาจหมายถึงการเยียวยารักษาอวัยวะและโรคมะเร็งซึ่งมีความเสียหายอยู่ภายใน..
https://www.bbc.com/news/uk-scotland-49311598