เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย กลับเข้าในดัชนี SET50 และ SET100 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

A picture containing text, clipart

Description automatically generated

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 27 ธันวาคม 2565 – บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จะกลับเข้าในดัชนี SET50 และดัชนี SET100 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน 2566 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ประกาศรวมเดลต้า ประเทศไทย ไว้ในดัชนี SET50 และ SET100 ในการปรับรายการหลักทรัพย์ (Stock Review and Revision) ล่าสุดซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 โดยในการปรับดัชนีหลักทรัพย์ล่าสุด เดลต้า ประเทศไทย เป็นเพียงบริษัทเดียวในหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการเข้าร่วมดัชนีหุ้น SET50

ดัชนี SET50 และ SET100 เป็นดัชนีหุ้นหลักของประเทศไทยที่ได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับการออกดัชนีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures) และสัญญาสิทธิ (Options) รวมถึงถูกใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดัชนีดังกล่าวคำนวณจากราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียน 50 อันดับแรกและ 100 อันดับแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งในด้านมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดขนาดใหญ่ สภาพคล่องสูง และการปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการกระจายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นรายย่อย

นายแจ็คกี้ จาง ประธานบริษัท เดลต้า ประเทศไทย กล่าวว่า “นับตั้งแต่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2538 เดลต้า ประเทศไทย มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในความเป็นเลิศด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และได้รวมอยู่ในดัชนีชั้นนำของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และรายการการลงทุนเพื่อความยั่งยืนเป็นเวลาหลายปี การที่เดลต้าสามารถกลับเข้าสู่ดัชนี SET50 และ SET100 ในปี 2566 นี้ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่ไม่เปลี่ยนแปลงของนักลงทุนที่มีต่อความมุ่งมั่นของบริษัทในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและศักยภาพในการเติบโตในอนาคต”

“แม้จะเกิดโรคระบาดและความท้าทายระดับโลกหลายประการ แต่เดลต้า ประเทศไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปีผ่านความมุ่งมั่นของเราในการส่งมอบคุณค่าให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ในปี 2564 บริษัทมีรายได้รวมเกินกว่า 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เราจึงอยากขอบคุณผู้ถือหุ้นและนักลงทุนของเราเป็นอย่างยิ่งที่ให้ความไว้วางใจในเดลต้า ประเทศไทย”

ดัชนี SET50 และ SET100 จะถูกปรับปรุงโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทุก 6 เดือน โดยรายชื่อใหม่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคมและกรกฎาคมตามลำดับ นับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย ได้อยู่ในดัชนี SET50 มาโดยตลอด ยกเว้นเพียง 3 ช่วง ได้แก่ เดือนมกราคม – มิถุนายน 2561, เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2563 และเดือนมกราคม – ธันวาคม 2565

ในปี 2565 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปลี่ยนวิธีการคำนวณสำหรับดัชนี SET50, SET100 และ SETHD จากการใช้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเต็มรูปแบบ เป็นมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ปรับแล้วแบบลอยตัวอิสระ เพื่อสะท้อนสภาวะตลาดในแง่ของสภาพคล่องได้ดีขึ้น และป้องกันการเก็งกำไรในหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำ

ในฐานะบริษัทไทยที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และพลเมืององค์กรระดับโลก เดลต้า ประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเติบโตอย่างยั่งยืนเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับนักลงทุนและสังคม

###

เกี่ยวกับ บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)

บริษัทฯ เริ่มดำเนินธุรกิจเมื่อปี พ .ศ. 2531 เป็นหนึ่งในผู้ผลิตชั้นนำของโลกด้านโซลูชั่นส์การจัดการพลังงานและความร้อน นอกจากนี้ เดลต้า ฯ ยังเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ในระดับภูมิภาคหลากหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์ อาทิ ระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม ระบบแสดงผลครบวงจร และระบบเครือข่าย โดยพันธกิจของบริษัทฯ ที่ว่ามุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมการใช้พลังงานสะอาดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่ออนาคตที่ดีกว่า สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน 

ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นส์การประหยัดพลังงานทางด้านเพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ และด้วยนวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาที่ทันสมัย ธุรกิจหลักของบริษัทฯ แบ่งได้ดังนี้ เพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ ออโตเมชั่น และระบบโครงสร้างพื้นฐาน  บริษัทฯ มีส านักงานขายมากมายในภูมิภาคหลักทั่วโลก โรงงานผลิตในอินเดีย สโลวาเกีย และประเทศไทย ศูนย์วิจัยพัฒนาและออกแบบในไทย อินเดีย เยอรมันและอื่น ๆ อีกมากมายในหลายประเทศ

เดลต้า (ประเทศไทย) เป็นบริษัทอุตสาหกรรมชั้นนำที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและในภูมิภาค  โดยได้รับการเชิดชูเกียรติจากนานาสถาบัน อาทิ รางวัลองค์กรธุรกิจแห่งอาเซียนด้านสุดยอดนวัตกรรม  รางวัลบริษัทจดทะเบียนด้านผลการดำเนินงานดีเด่นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  และรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมจากนายกรัฐมนตรี

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเดลต้าฯ  สามารถเยี่ยมชมได้ที่ www.deltathailand.com

Leave a Reply